องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งทำเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการทำเกลือสินเธาว์แหล่งทำเกลือบ่อกฐิน ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาและสรุปองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมจากการทำเกลือสินเธาว์ของแหล่งทำเกลือบ่อกฐิน ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 3) เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมการทำเกลือสินเธาว์แหล่งทำเกลือบ่อกฐิน และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมการทำเกลือสินเธาว์ ผลการวิจัยพบว่า แหล่งทำเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีองค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมแหล่งทำเกลือสินเธาว์ สรุปได้ 11 องค์ประกอบ คือ 1) โนนเจ้าปู่ฟ้าระงึม 2) ดอนปู่ตาบ้านบ่อกฐิน 3) แหล่งน้ำธรรมชาติ 4) ป่าละเมาะ 5) หลุมหรือบ่อน้ำ 6) กองฟืน 7) เพิงพักและเพิงต้มเกลือ 8) ฮางเกลือ 9) กองดินเอียด 10) กองขี้บ่อ 11) เข่งตากเกลือ โดยผู้วิจัยเล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในด้านการอนุรักษ์และพัฒนา 3 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการทำเกลือสินเธาว์ด้วยวิธีพื้นบ้าน 2) อนุรักษ์องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญบางองค์ประกอบ เพื่อยังให้คงเอกลักษณ์ไม่ให้ถูกทำลายหายไปและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ 3) บรรจุเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และกระบวนการทำเกลือสินเธาว์เป็นบทเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นหรือในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ทุ่งกุลา อาณาจักรเกลือ 2500 ปี จากยุคแรกเริ่มล้าหลัง ถึงยุคมั่งคั่งข้าวหอม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
อมฤต หมวดทอง. (2558). เกลือ และประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอีสาน. หน้าจั่ว, (ฉบับที่ 29), 165-168.
เนตรนภา รัตนโพธานันท์. (2558). ภูมิปัญญาการผลิตเกลือในแอ่งดินโคราช. ชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(1), 16.ฃ
รติสมัย พิมัยสถาน. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการผลิตเกลือสินเธาว์กรณีศึกษาบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บำเพ็ญ ไชยรักษ์. (2554). บทบาทของเกลือที่มีต่อนิเวศวัฒนธรรมและสุขภาวะของชุมชนในลุ่มน้ำสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อมฤต หมวดทอง. (2563). สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเกลืออีสาน : อุทยานธรณีที่ซ่อนกายและความหมายทางมรดกวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://asacrew.asa.or.th/salt-arch/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563].