การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาศาลาไผ่ขนาดเล็ก

Main Article Content

รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การออกแบบและก่อสร้างศาลาไผ่ โดยการใช้เราเตอร์และข้อต่อแบบสอดประกอบ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงศาลาไผ่ นำไปสู่การก่อสร้างศาลาไผ่ โดยใช้กระบวนคิดเชิงออกแบบในขั้นตอนทั้งหมด และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาแบบและการลงพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับช่างท้องถิ่น เพื่อค้นหาต้นแบบที่พัฒนาจากศาลาเดิม บนพื้นฐานการก่อสร้างโดยการใช้เราเตอร์และข้อต่อแบบสอดประกอบซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในการเชื่อมต่อลำไผ่แบบประเพณีหรือแบบพื้นถิ่นเข้าด้วยกัน


วิจัยนี้แบ่งเครื่องมือในการวิจัยออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) เครื่องมือสำหรับการออกแบบ ใช้วิธีการขึ้นรูปสามมิติด้วยโปรแกรม Sketch up ร่วมกับการจัดทำหุ่นจำลอง (2) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ใช้แบบสังเกตการณ์การแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งมีโครงสร้างสำหรับบันทึกข้อมูลในระหว่างการพัฒนาแบบร่วมกับช่าง จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งแบบศาลาขั้นสุดท้ายก่อนนำไปก่อสร้างมีขนาดอยู่ที่ 1.20X1.80X2.85 เมตร สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้


ประเด็นที่ 1 “แนวความคิดในการออกแบบ” เกิดจากการใช้โครงสร้างแบบเฟรมในระนาบสองทิศทาง ร่วมกับโครงสร้างสามเหลี่ยมที่มีเสถียรภาพของชิงช้าไผ่ โดยเลือกระบบโครงสร้างที่เหมาะสมกับขนาดของศาลา คือ โครงสร้างแบบเฟรม ซึ่งพบได้ในสถาปัตยกรรมไผ่ขนาดเล็กแบบเสาและคาน


ประเด็นที่ 2 “การพัฒนารูปทรงที่เป็นไปได้” เกิดจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าสถาปัตยกรรมไผ่ขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะโครงสร้างพื้นฐานมาจากรูปสามเหลี่ยม รูปแบบโครงสร้างมีความสมมาตรและเป็นอาคารที่เกิดจากกรอบโครงสร้างที่ซ้ำกัน โดยซ้ำกัน 2 ลักษณะ คือ ซ้ำกันในแนวราบ และซ้ำกันในแนวรัศมีวงกลม โดยคำนึงถึง 1)มุมองศาที่ลำไผ่เอียงออกจากกัน 2)สัดส่วนของชิ้นส่วนโครงสร้าง โดยผู้วิจัยได้พัฒนาแบบศาลาให้มีมุมองศาของเสาหลักและเสารองเอียงออกจากกัน 30 องศา และมีสัดส่วนของชิ้นส่วนโครงสร้างระหว่างความสูงเสาหลักเท่ากับ “h” และความสูงเสารองเท่ากับ “2/3h”


โดยทั้งสองประเด็นนั้นมีปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการออกแบบและพัฒนารูปทรงคือ 1)ระยะสำหรับการขนส่งและบรรทุกศาลาโดยรถกระบะ 2)แรงลมที่กระทำกับสัดส่วนของศาลา 3)ความหลากหลายของขนาดหน้าตัดลำไผ่ ทำให้เกิดเทคนิคการสอดไผ่ขนาดเล็กเข้าไปประกอบกับไผ่ที่มีขนาดหน้าตัดใหญ่กว่าหรือที่เรียกว่า ข้อต่อแบบสอดประกอบ (Positive Fitting Joint) ส่งผลต่อการทำมุมหรือองศาระหว่างลำไผ่ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของรอยต่อที่มีการถ่ายแรงแบบไม่รวมศูนย์ (Eccentricities of load transfer) เนื่องจากไม่สามารถออกแบบการเชื่อมต่อไผ่หลายลำในจุดเดียวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานต์ คำแก้ว. (2546). ไผ่กับสถาปัตยกรรมที่เลือนหาย : การออกแบบศาลาประชาคม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไชยภพ เกตุเพ็ชร. (2557). การศึกษาปัจจัยการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างอาคารไผ่ : กรณีศึกษาอาคารศาลาไผ่ 4 หลัง ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนา อุทัยภัตรากูร. (2559). โครงการออกแบบและก่อสร้างหอศิลป์ไม้ไผ่. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม สถาบันอาศรมศิลป์.

ประทักษ์ ทองคูณ. (2561). การพัฒนาชุดอุปกรณ์ ต่อ-ประกอบไม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย สำหรับฝึกปฏิบัติการงานไม้. วารสารสถาปัตยกรรมการออกแบบ และการก่อสร้าง.1(1),38-47.

พสุ เดชะรินทร์. (2557). Design Thinking. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/591915

ภัทฐิตา พงศ์ธนา. (2557). การศึกษาความสามารถการรับน้ำหนักของโครงสร้างไผ่ โดยวิธีการรวบลำเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รุ่งพรรษา น้อยจันทร์. (2557). การพัฒนาข้อต่อโครงถักไผ่สำหรับโครงสร้างสถาปัตยกรรม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิชา บรรจงรัตน์. (2557). การศึกษาคุณสมบัติทางกลของพันธุ์ไผ่ไทยในงานโครงสร้างเรียบง่าย. ปริญยาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุปรีดี ฤทธิรงค์. (2554). Thai Bamboo: Material Explored (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: G7 Publication.

สุภิญญาลักษณ์ จันทรวงศ์. (2557). การศึกษาคุณสมบัติของไผ่ตงเพื่อสร้างค่ามาตรฐานกลางของวัสดุและการประยุกต์ใช้งานโครงสร้างสำหรับอาคารสาธารณะ. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Anastasia Maurina. (2014). International Conferences on 15th SENVAR (Sustainable Environmental Architecture) and 2nd AVAN (Asian Vernacular Architecture Network), Promoting Sustainable Living through Contemporary Bamboo Architecture.(1-8). Makassar, Indonesia.

Andry Widyowijatnoko. (2012).Conventional vs. Substitutive Bamboo Construction: The classification of Bamboo Construction. (phd thesis). Faculty of Architecture RWTH Aachen, Germany.