การพัฒนารูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียนและผู้ปกครอง

Main Article Content

อุษณี ลลิตผสาน
ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ
สรียา โชติธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ (1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศ (2) เพื่อสร้างรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคลที่ส่งเสริมการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของนักเรียนและผู้ปกครอง (3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคลที่พัฒนาขึ้น และ (4) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคลที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์รูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มเป้าหมาย คือ รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 5 ฉบับ (ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน และ ประเทศเกาหลีใต้) เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกเอกสารรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ระดับบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์ส่วนประกอบ ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตัวอย่าง คือ นักเรียน นิสิตนักศึกษา และผู้ปกครอง รวมจำนวน 184 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยระยะแรก แบบสอบถามรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (conjoint analysis) และระยะที่ 3 การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักวิชาการจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการสรุปอุปนัย


          ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ข้อมูลเบื้องต้นของผู้เข้ารับการทดสอบ ข้อมูลการรายงานผลการทดสอบ และข้อมูลสำหรับส่งเสริมการเรียน (2) รูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนกับคะแนนเฉลี่ยจำแนกตามลำดับ และการวิเคราะห์จุดแข็งและพัฒนาการผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน (3) รูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคลที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม โดยคุณลักษณะที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกรูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับบุคคล คือ การเปรียบเทียบผลคะแนน O-NET ของนักเรียนกับคะแนนเฉลี่ยจำแนกตามลำดับ และ (4) รูปแบบการรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ระดับบุคคลที่พัฒนาขึ้น มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ส่งเสริมการใช้ผลการทดสอบและพัฒนาผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2556). มาตรฐานการทดสอบทางการศึกษา แห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/content/view/1918.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1594882242.pdf.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2561). การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในยุคปัจจุบันและอนาคตของไทย.

การประชุมสัมมนาวิชาการ การวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26, 37-56.

อุทุมพร จามรมาน. (2561). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ควรพัฒนาอะไรในยุค ประเทศไทย 4.0. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 1(2), 3-9.

Baldwin, M., & Mussweiler, T. (2018). The culture of social comparison. Proceedings of the National Academy of Sciences, 115(39), E9067-E9074.

Davis, D., Jivet, I., Kizilcec, R. F., Chen, G., Hauff, C., & Houben, G. J. (2017, March). Follow the successful crowd: raising MOOC completion rates through social comparison at scale. In Proceedings of the seventh international learning analytics & knowledge conference (pp. 454-463).

Ismaeel, D., & Al Mulhim, E. (2021). The influence of interactive and static infographics on the academic achievement of reflective and impulsive students. Australasian Journal of Educational Technology, 37(1), 147-162.

Tian, L., Yu, T., & Huebner, E. S. (2017). Achievement goal orientations and adolescents’ subjective well-being in school: The mediating roles of academic social comparison directions. Frontiers in psychology, 8, 37.