การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลออนไลน์เพื่อวัดความก้าวหน้าทางการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนของนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

กมลวรรณ เจนวิถีสุข
อิสราภรณ์ เทพวงษา
เก่งกาจ วินัยโกศล
สุรพล วีระศิริ
รัฐพล อุปลา
โกสินทร์ วิระษร
เกรียงศักดิ์ เจนวิถีสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลออนไลน์เพื่อวัดความก้าวหน้าทางการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนของนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยเป็นโปรแกรมที่สามารถวัดความรู้พื้นฐานของวิชาชีพแพทย์ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และการดูแลรักษาผู้ป่วย รูปแบบการวิจัยยังรวมถึงการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อประเมินคุณภาพของโปรแกรม โดยเก็บข้อมูลครั้งเดียว จากนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในรายวิชาศัลยศาสตร์ 2 จำนวน 35 คน เพศนักศึกษาชายมีอายุเฉลี่ยที่ 22.31 ปี และเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 22.21 ปี ผ่านการประเมินตนเองโดยใช้ชุดข้อสอบจำนวนสองชุด แต่ละชุดมีข้อสอบจำนวน 90 ข้อ อ้างอิงจากลักษณะของผู้ป่วยจริงที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้โรคที่เกี่ยวข้องกับทางศัลยกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบความสามารถทางการเรียนรู้ของตนเอง ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง และศักยภาพที่ผู้เรียนควรต้องพัฒนาต่อ และเมื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของแบบทดสอบในการประเมินตนเอง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย การใช้งานง่าย สามารถเข้าเรียนเวลาใดหรือที่ใดก็ได้ และสามารถตรวจสอบคำตอบที่ถูกต้องได้ทันที โดยคุณภาพของเครื่องมือมีค่าคะแนนอยู่ในช่วงดีถึงดีมากต่อการใช้งาน โดยทั้งสองเพศเป็นไปในทิศทางเดียวกันและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งคณะผู้วิจัยยังได้พัฒนาคู่มือการใช้โปรแกรมเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agnew, S., Kerr, J., & Watt, R. (2021). The effect on student behaviour and achievement of removing incentives to complete online formative assessments. Australas J Educ Technol, 37(4), 173–185.

Bernard, R., Abrami, P., Lou, Y., Borokhovski, E., Wade, A., Wozney, L., Wallet, P., Fiset, M., Huang, B. (2004). How does distance education compare with classroom instruction? A meta-analysis of the empirical literature. Rev Educ Res, 74(3), 379–439.

Cooke, M., Irby, D. M., Sullivan, W., & Ludmerer, K. M. (2006). American medical education 100 years after the Flexner report. N Engl J Med, 355, 1339–1344.

Deci, EL., Vallerand, RJ., Pelletier, LG., & Ryan, RM. (1991). Motivation and education: The self-determination perspective. Educ Psychol, 26(3–4), 325–346.

Glogowska, M., Young, P., Lockyer, L., & Moule P. (2011). How 'blended' is blended learning?: students' perceptions of issues around the integration of online and face-to-face learning in a Continuing Professional Development (CPD) health care context. Nurse Educ Today, 31(8):887-891.

Holmboe, E. S., Sherbino, J., Long, D. M., Swing, S. R., & Frank, J. R. (2010). The role of assessment in competency-based medical education. Med Teach, 32, 676–682.

Marden, NY., Ulman, LG., Wilson, FS., & Velan GM. (2013). Online feedback assessments in physiology: effects on students' learning experiences and outcomes. Adv Physiol Educ, 37(2), 192-200.

Nagandla, K., Sulaiha, S., & Nalliah, S. (2018). Online formative assessments: exploring their educational value. J Adv Med Educ Prof, 6(2), 51-57.

Palmer, E., & Devitt P. (2014). The assessment of a structured online formative assessment program: a randomised controlled trial. BMC Med Educ, 14(8), PMCID: PMC3893582.

Velan, G. M., Kuma,r R. K., Dziegielewski, M., & Wakefield, D. (2002). Web-based self-assessments in pathology with Questionmark Perception. Pathology, 34(3), 282-284.

Walker, DJ., Topping, K., Rodrigues, S. (2008). Student reflections on formative e-assessment: Expectations and perceptions. Learn, Media Technol. 33. 221–234.