การบูรณาการผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานกับโครงการพระราชดำริ เพื่อการยกระดับการจัดการเรียนรู้และการประเมินผล

Main Article Content

ศิริดา บุรชาติ
ศรุดา เห็นสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) บูรณาการร่วมกับโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการยกระดับการจัดการเรียนรู้และการประเมินผล และเพื่อส่งเสริมโรงเรียนให้รองรับการจัดสอบด้วยระบบดิจิทัล เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) และอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาค โดยการวิเคราะห์แนวโน้มของผลการทดสอบ O-NET จำนวน 4 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 – 2564 แล้วนำไปเชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฐานการเรียนรู้ในโครงการพระราชดำริ ในการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแต่ละแห่ง รวมถึงกระบวนการและเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอื่น ๆ


นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้รองรับการจัดสอบด้วยระบบดิจิทัล เพื่อเป็นการนำร่องและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการวัดและประเมินผลสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นไปติดตั้ง และได้ดำเนินการทดสอบ O-NET ด้วยระบบดิจิทัลในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 5 แห่ง ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าสามารถรองรับการจัดสอบที่มีนักเรียนจำนวนมาก รวดเร็ว และปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบทางการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติมา ใจปลื้ม, นิลาวัลณ์ จันทะรังษี, อัมพล เจริญนนท์, เริงวิชญ์ นิลโคตร และ วัยวุฒิ บุญลอย. (2563). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(6), 46-60.

จินดารัตน์ แก้วพิกุล. (2559). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์องค์ความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมาตรฐานสากล, ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ. (2563). การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(1), 63-82.

ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ. (2565). การศึกษารูปแบบการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาที่มี ผลการทดสอบ O-NET ที่แตกต่างกัน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 35(1), 47-64.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมลว่องวาณิช. (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565, จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/PLC_1544649171.pdf.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กุลธิดา นุกูลธรรม, ทัศตริน วรรณเกตุศิริ และ นันทรัตน์ เครืออินทร์. (2561). แนวทางการสะท้อนคุณภาพของโรงเรียนด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลการสอบ O-NET: กรณีการวิเคราะห์ปัจจัยด้านผลการเรียนแรกเข้าของนักเรียนและขนาดโรงเรียน. Kasetsart Journal of Social Sciences. 39(2), 780-788.

สายสมร ศักดิ์คำดวง, สุพจน์ ประไพเพชร, สุดสวาสดิ์ ประไพเพชร, วสันต์ แสงเหลา, ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2565). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวทางการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปัญญา. 4(3), 36-50.

สำราญ กำจัดภัย. (2553). รายงานวิจัยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านท่าวัด “คุรุราษฎร์บำรุงวิทย์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(3), 50-65.

สุชาดา สวัสดี, ธนวิน ทองแพง และ พงศ์เทพ จิระโร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภูมิภาคตะวันออกโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 11-21.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556). การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: พหุกรณีศึกษาโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา แนวคิดและการประยุกต์ใช้ Educational Research Concept and Applications. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทุมพร จามรมาน. (2531). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง.

อุษณีย์ ดวงพรม. (2565). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้กับครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก:การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2(1), 200-216.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University Australia.

Mayer, D. & Lloyd, M. (2011). Professional Learning: An Introduction to the Research Literature. Australia: AITSA.