ผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน และปัจจัยที่มีผลต่อการนำผลการทดสอบไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ตรีคม พรมมาบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน และ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
เป็นวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือผู้แทน 47 คน ผู้แทนโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนใน 4 รายวิชา 1,286 คน นักเรียน 518 คน และผู้ปกครองนักเรียน 545 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบออนไลน์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. ผลกระทบจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) ผู้เรียนมีผลกระทบ
เชิงบวกอยู่ในระดับมาก เช่น นักเรียนที่มีความตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบต่อการเรียนและมีระเบียบวินัยมากยิ่งขึ้น มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิชาต่าง ๆ ทบทวนเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอและฝึกทำตัวอย่างข้อสอบ O-NET มีผลกระทบเชิงลบอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย การเสียค่าใช้จ่ายกับการเรียนกวดวิชา และ รู้สึกไม่สบายใจ 2) ผู้ปกครองมีผลกระทบเชิงบวกอยู่ในระดับมาก เช่น ผู้ปกครองเห็นว่าการสอบ O-NET เป็นประโยชน์ต่อบุตรหลานในการตรวจสอบความรู้รวบยอด เป็นสิ่งที่ดีในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเพื่อให้ผู้ปกครองทุกคนมีความเชื่อมั่นในโรงเรียนที่บุตรหลานเรียน มีการดูแล ติดตามและควบคุมพฤติกรรม การเรียนของบุตรหลานมากขึ้น มีผลกระทบเชิงลบอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง


เช่น เพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนให้บุตรหลานเพื่อเตรียมตัวสอบ และค่าอินเทอร์เน็ต 3) ผู้บริหารโรงเรียนมีผลกระทบเชิงบวกอยู่ในระดับมาก เช่น การกำหนดให้การยกระดับ/พัฒนาผลการสอบ O-NET  เป็นนโยบายของโรงเรียน  บริหารจัดการบุคลากรและครูที่เหมาะสม  ความพร้อมด้านงบประมาณ การจัดการ และวัสดุอุปกรณ์  เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การกำกับติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินการ การสื่อสารเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานแก่ครูและผู้ปกครอง มีผลกระทบเชิงลบอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก ได้แก่ เกิดความเครียดเนื่องจากการนำผลการสอบ O-NET ไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน การใช้งบประมาณในการจ้างวิทยากรมาติวแนวข้อสอบ O-NET  ในด้านครูผู้สอนมีผลกระทบเชิงบวกในระดับมาก เช่น  ครูพัฒนาการสอนของตนเองมากยิ่งขึ้น  รูปแบบการสอนที่หลากหลายโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์  เตรียมวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดของ O-NET มากขึ้น  มีผลกระทบเชิงลบอยู่ในระดับมาก เช่น เกิดความเครียด เนื่องจากการกำหนดเป้าหมายให้ผลสอบ O-NET ของนักเรียนอยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา  ลดความสำคัญของการสอนตามหลักสูตร  เร่งรัดในการสอนตามเนื้อหาในหลักสูตร ลดความสำคัญของการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม และ 4) ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีผลกระทบเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก เช่น 
การจัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง  การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย  ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ฝึกอบรมพัฒนาครูผู้สอน กำกับ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา  ผลกระทบเชิงลบอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก ได้แก่ เกิดความเครียดในการบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายการทดสอบระดับชาติ 


2. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำผลการทดสอบไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.486 รองลงมาคือปัจจัยด้านครูผู้สอน เท่ากับ 0.180   ปัจจัยด้านผู้เรียน เท่ากับ 0.154 และปัจจัยด้านนโยบายเท่ากับ 0.124 ตามลำดับ  และ 2) ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุดคือปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.546  ปัจจัยด้านครูผู้สอน เท่ากับ 0.195  ปัจจัยด้านผู้เรียน เท่ากับ 0.186 และปัจจัยด้านนโยบาย เท่ากับ 0.157 ตามลำดับ   มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.932  มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 86.90  ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิเคราะห์สามารถนำมาสร้างสมการการนำผลการทดสอบไปใช้ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้


Y = 0.211 + 0.124** administrator + 0.486** teacher + 0.180** learner + 0.154** policy


Z = 0.157** administrator + 0.546** teacher + 0.195** learner + 0.186** policy

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลรตี พันธุ์แฉล้ม. (2553). การวิเคราะห์มุมมองของผู้เกี่ยวข้อเกี่ยวกับนโยบายการทดสอบทาง

การศึกษาระดับชาติและผลกระทบที่เกิดขึ้น. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส และคณะ. (2563). ผลกระทบของการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

ญาณิกา ลุนราศรี. (2557). ผลกระทบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาต่างประเทศ.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ, สรัญญา จันทร์ชูสกุล และ พินดา วราสุนันท์. (2560).ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2), 2102-2116.

ธัญญา เรืองแก้ว. (2550). การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สำคัญอย่างไร.

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 10(4), 78-79.

ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).

ประสงค์ ต่อโชติ, พัชรี จันทร์เพ็ง และ ภัทราวดี มากมี. (2555). การพัฒนาโมเดลการวัดการนำผลการประเมินไปใช้: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 35(2), 48-60.

พินดา วราสุนันท์, อัจศรา ประเสริฐสิน และ สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 8(2),79-81

ภาคิญ ไชยวงค์. (2561). ผลกระทบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

มินตรา สิงหนาค. (2552). อิทธิพลของกระบวนการครอบครัว และตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้า 13-18.

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

https://bet.obec.go.th/New2020/wp-content/uploads/2020/06/onet-p3m3m62562.pdf

วันดี สมมิตร. (2552). ผลกระทบของการสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูในเขตกรุงเทพมหานคร: การวิจัยแบบผสม. สาขาวิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2564). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร.

https://data.bopp-obec.info/emis/index.php.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานประจำปี 2555

(1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555). พิมพ์ดี.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2557). วิเคราะห์สาเหตุคะแนนโอเน็ตตกต่ำ. ไทยรัฐออนไลน์.

https://www.thairath.co.th/content/413042

สมพงษ์ จิตระดับ, สุอังคะวาทิน และ ชุติมา ชุมพงศ์. (2560). การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง. (2560). มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/news/783532

สุรชัย ไวยวรรณจิตร. (2552). การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนน O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ: กรณีศึกษาโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุรชัย ไวยวรรณจิตร, มูฮาหมัดราพีร์ มะเก็ง, มุสลิม รอกา และ ซารี ลาเต๊ะ. (2557). การนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-NET) ระดับชั้นมัธยมปีที่ 3 และปีที่ 6 ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556). การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: พหุกรณีศึกษาโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย และ ภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Callahan, C.M., Tomlinson, C.A., Hunsaker, S. L., Bland, L.C., and Moon, T. (1995).

Instrument and Evaluation Designs Uses in Gifted Programs. The National Research Center on the Talented, The University of Virginia.

Morrow, P. M., and Wilson, R. C. (1961). Family relationship of bright high-achieving and under-achieving high school boy. Child Development. 32(3), 501-510.

Saito Y. (2006). Consequences of high stakes testing on the family and schools in Japan. Kedi Journal of Educational Policy. 3(1), 101-112.