วิถีเมืองแห่งความสุขต้นแบบ: การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาเมืองพหุวัฒนธรรมแห่งความสุข

Main Article Content

ตวงเพชร สมศรี
นักวิจัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อาจารย์ประจำภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องวิถีเมืองแห่งความสุขต้นแบบ: การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาเมืองพหุวัฒนธรรมแห่งความสุข มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อถอดบทเรียนแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งความสุขต้นแบบ และ ๒) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้และเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งความสุข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม ได้แก่ การลงพื้นที่ศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตรัง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ประชาชน ๒๐ คน เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑) ถอดบทเรียนแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งความสุขต้นแบบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตรัง คือ การมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอยู่ในตัวคนและรูปของวัตถุ สถาบันที่เอื้อต่อการบ่มเพาะวิถีแห่งความสุขที่เรียบง่าย การมีผู้นำทางศาสนาและชุมชนที่เป็นต้นแบบ การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมพัฒนาชุมชน มิติเมืองแห่งความสุขมี ๔ ด้าน คือ กายภาพ สังคมภาพ จิตภาพ และปัญญาภาพ และ ๒) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้และเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งความสุข มี ๔ องค์ประกอบ ได้แก่  องค์ประกอบที่ ๑ ทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม องค์ประกอบที่ ๒ ผู้นำชุมชนและผู้นำทางศาสนา องค์ประกอบที่ ๓ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน องค์ประกอบที่ ๔ การเป็นเมืองแห่งความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

(๑) หนังสือ:

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ความคิด: แหล่งสำคัญของการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด. ๒๕๔๓.

(๒) รายงานวิจัย:

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. “กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา”. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ๒๕๔๓.

(๓) บทความ:

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และคณะ. “การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม ๒๕๖๔): ๘๙๖-๙๐๗.

เบญจมาส พฤกษ์กานนท์ และคณะ. “การสำรวจระดับชาติเพื่อศึกษาระดับความสุขคนไทยรายจังหวัด ปี พ.ศ. ๒๕๖๑”. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑ (๒๕๖๕): ๗๕-๘๖.

ปาน กิมปี. “ทุนทางสังคมกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย”. วารสาร กศน. ๔ (เมษายน ๒๕๕๔): ๓๔-๓๗.

(๔) สื่ออิเล็กทรอนิกส์:

THE BANGKOK INSIGHT EDITORIAL TEAM. อันดับความสุขของคนไทยลดลง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thebangkokinsight.com/๑๒๑๕๖๖/[๓ มกราคม ๒๕๖๕].

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ (ฉบับย่อ). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// www. nesdc. go.th /down load /document/SAC/NS_SumPlan Oct ๒๐๑๘.pdf [๓ มีนาคม ๒๕๖๕].

(I) Books:

Bourdieu. P. Social Capse and Symbolic Power in Sociological Theory. Great Britain: Bocardo Press, 1989.

(II) Articles:

Cohen. J. M. and Uphoff. N. T. “Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity”. World Development. 8 (1980): 213-235.

Martin. S. “Positive psychology: An introduction”. American Psychology journal. Vol.55 (2000): 5-14.

Venhoven. R. “Happy life-expectancy: A comprehensive measure of quality-of-life in nations”. Social Indicators Research. Vol 39 (1996): 1-58.