เรื่องสำคัญในการตรวจสอบและวิธีการตอบสนองความเสี่ยงของผู้สอบบัญชี ของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

Main Article Content

กัญญนันท์ ปุญญาวิวัฒน์
ผศ.ดร.วชิระ บุณยเนตร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน และวิธีการตอบสนองความเสี่ยงที่ระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน จำนวน 22 บริษัท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีของบริษัทดังกล่าวสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ถึง 2561 โดยใช้มาตรฐานการสอบบัญชีและประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล


การศึกษาพบว่าเรื่องสำคัญในการตรวจสอบไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทอาจถูกเพิกถอนหรือไม่ รวมทั้งเรื่องสำคัญในการตรวจสอบที่ระบุในแต่ละบริษัทมีความแตกต่างไปตามความเสี่ยงสืบเนื่องและสภาพแวดล้อมของแต่ละบริษัท ทั้งนี้วิธีการตรวจสอบที่ผู้สอบบัญชีใช้ตอบสนองต่อความเสี่ยงสอดคล้องกับมาตรฐานการสอบบัญชี อย่างไรก็ตามการตอบสนองความเสี่ยงในเรื่องสำคัญในการตรวจสอบเน้นการตรวจสอบเนื้อหาสาระด้วยการทดสอบรายละเอียดของรายการและยอดคงเหลือ แต่ไม่เน้นการทดสอบการควบคุมเท่าที่ควร นอกจากนี้การศึกษาไม่พบการใช้รูปแบบมาตรฐานในการระบุเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 330 เรื่อง วิธีปฏิบัติของผู้สอบบัญชีในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้. สืบค้น 30 ธันวาคม 2562, จาก http://www.tfac.or.th/upload/
9414/8r5L4140rK.pdf
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 315 (ปรับปรุง) เรื่อง การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูล ที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญโดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ. สืบค้น 30 ธันวาคม 2562, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/9jHm9pny7b.pdf
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). รายงานของผู้สอบบัญชีแบบใหม่ ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสอบงบการเงิน. สืบค้น 1 กันยายน 2562, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/48XZM7P3Ca.pdf
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 701 เรื่องการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. สืบค้น 30 ธันวาคม 2562, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/JqKwOXdzBe.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. การขึ้นเครื่องหมาย. สืบค้น 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/th/products/trading/equity/tradingsystem_p9.html
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. การเข้าเหตุอาจถูกเพิกถอนและการพ้นเหตุเพิกถอน กรณีฐานะการเงิน/ การดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่กำหนด. สืบค้น 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/th/
regulations/simplified_regulations/possible_delisting_financial_condition_p1.html
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. การเข้าเหตุอาจถูกเพิกถอนและการพ้นเหตุเพิกถอน กรณีไม่นำส่งงบการเงิน/ นำส่งงบการเงินล่าช้าเกินกำหนด/ ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง. สืบค้น 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/possible_delisting_
late_submission_p1.html
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. การเข้าเหตุอาจถูกเพิกถอนและการพ้นเหตุเพิกถอน กรณีบริษัทมีสินทรัพย์ทั้งหมด/ เกือบทั้งหมดในรูปของเงินสดหรือหลักทรัพย์ระยะสั้น (Cash Company). สืบค้น 30 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/possible_delisting_cash_
company_p1.html

Alderman, C. W. (1977). The role of uncertainty qualifications: evidence to support the tentative conclusion of the Cohen Commission. Journal of Accountancy, November, 97-100.
________. (1979). An empirical analysis of the impact of uncertainty qualifications on the market risk components. Accounting and Business Research, Autumn, 258-266.
Boonyanet, Wachira and Promsen, Waewdao. (2019). Key Audit Matters: Just Little Informative Value to Investors in Emerging Markets? Chulalongkorn Business Review, 41 (159), 153-183.
EY (2016). Enhanced Auditor’s reporting.
Innes, J., Brown, T. and Hatherly, D. (1997). The expanded audit report -a research study within the development of SAS 600. Accounting Auditing and Accountability Journal, 10(5), 702-717.
Kleijn, Renske and Leeuwen, Anouschka (2018). Reflections and review on the audit procedure: Guidelines for more transparency. Internaltional of Qualitative Methods, 17, 1-8.
Manson, S. and Zaman, M. (2001). Auditor communication in an evolving environment: going beyond SAS 600: Auditors' reports on financial statements. British Accounting Review, 33, 113-136.
Olojede, Paul, Erin, Olayinka, Asiriuwa, Osariemen and Usman, Momoh (2020). Audit expectation gap: an empirical analysis. Future Business Journal. 6(10), 1-12.
Wooten, Thomas (2003). Research about audit quality. The CPA Journal. 73(1), 48-51.