วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC
<table width="100%"> <tbody> <tr> <td style="vertical-align: text-top; padding: 0px 15px; background: #b5e2f7; border: #b5e3f8; color: #006fbb; line-height: 2;" width="70%"> <p> </p> <p> ยุค Digital กำลังสิ้นสุดลง และยุค Quantum กําลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว Paul Davies กล่าวว่า “ ศตวรรษที่สิบเก้าเป็นที่รู้จักกันในชื่อ<u>ยุคเครื่องจักร</u> ศตวรรษที่ยี่สิบจะถูกจารึกประวัติศาสตร์ในฐานะ<u>ยุคข้อมูล</u> ผมเชื่อว่าศตวรรษที่ 21 จะเป็น<u>ยุคควอนตัม</u>” แม้ว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมทั้งหมดที่มีอยู่ยังเป็นต้นแบบ มีขนาดเล็ก แต่ Quantum technology จะนํามาซึ่งความท้าทายที่สำคัญและเปิดศักยภาพสำหรับโอกาสใหม่ ๆ</p> <p> ตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ Quantum Computer คือการจัดการด้านนโยบายภาษีระหว่างประเทศที่สลับซับซ้อน โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่หลากหลายเพื่อคาดการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษีด้วยความแม่นยําและรวดเร็วที่คอมพิวเตอร์ปัจจุบันไม่อาจเทียบได้ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมีความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น Quantum computing ยังนํา เสนอความสามารถที่ไม่เคยมีมาก่อนในการตรวจจับการฉ้อโกงภาษี การทุจริตคอร์รัปชัน การฟอกเงิน รวมถึงปรับปรุงการปฏิบัติตามข้อกําหนดโดยรวม</p> <p> ไม่ว่า Quantum computer จะนำมาประยุกต์เพิ่มประสิทธิภาพในแขนงใดของวิชาชีพการบัญชี นักบัญชีจำต้องเตรียมการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความหมายทางจริยธรรมของอัลกอริทึมทางการเงินภายในระบบที่ออกแบบมา เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นธรรม ความโปร่งใส และความรับผิดชอบที่อธิบายได้ (accountability) อนาคตของการบัญชีเริ่มจากการศึกษาถึงการใช้พลังของความเร็วการประมวลผลเชิงควอนตัมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อกำหนดรูปแบบ ทิศทางการกำกับดูแล การรายงานธุรกรรมทางการเงินขององค์กรและเศรษฐกิจ วิชาชีพการบัญชีจะถูกยกระดับไปสู่มาตรฐานวิชาชีพที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยจินตนาการมาก่อน</p> </td> <td style="vertical-align: text-top; padding: 0px 10px;" width="30%"> <div style="vertical-align: text-top; display: block; width: 100%; background-color: #0097de; color: #fff; text-align: center; padding: 10px; font-size: 17px;"><span style="color: rgba(0, 0, 0, 0.84);"><span style="font-size: 14px;">สาส์นจากบรรณาธิการ <br />ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย ศุภธาดา</span></span></div> <img style="max-width: 100%;" src="https://so02.tci-thaijo.org/public/site/images/praphatz/307108.jpg" /><br /><a style="display: block; width: 100%; background-color: #007f91; color: #fff; text-align: center; padding: 10px; font-size: 17px;" href="https://www.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/editor-talk"><span style="color: rgba(0, 0, 0, 0.84);"><span style="font-size: 14px;">อ่านเพิ่มเติม >> </span></span></a></td> </tr> </tbody> </table>
th-TH
<p> เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> <p> บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสภาวิชาชีพบัญชี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ก่อนเท่านั้น</p>
jfac@tfac.or.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย ศุภธาดา)
jfac@tfac.or.th (คุณโสภิตา สุ่มสังข์)
Tue, 07 Jan 2025 10:12:27 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน: มุมมองของผู้ตรวจสอบภายในและนักบัญชีในประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272694
<p><span style="font-weight: 400;"> การตรวจสอบภายในเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินและพัฒนาการปฏิบัติงาน รวมถึงระบบการควบคุมภายในเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพของการตรวจสอบภายใน โดยมุ่งเน้นที่คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน กระบวนการตรวจสอบ การสนับสนุนจากผู้ตรวจรับ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางออนไลน์ให้แก่ผู้ตรวจสอบภายในและพนักงานบัญชีจากองค์กรภาครัฐและเอกชนได้รับแบบสอบถามตอบกลับที่มีข้อมูลครบถ้วนจำนวน 129 ชุด คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 21.5% ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทั้ง 4 ด้านดังกล่าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อประสิทธิภาพของการตรวจสอบภายใน โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติงาน ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน</span></p>
ญาณิศา จันทร์ฉาย, พนารัตน์ ปานมณี, เมตตา เสมสมบูรณ์, ขวัญหทัย มิตรภานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272694
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ประเภทของรายงาน ESG ที่มีอิทธิผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ESG Scores กับปฏิกิริยาตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272789
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประเภทของรายงาน ESG ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ESG Scores กับปฏิกิริยาตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี 2560 – 2566 และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเป็นเครื่องมือในการทดสอบสมมติฐาน ผลการทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างรายงาน ESG Scores กับประเภทของรายงาน พบความสัมพันธ์เชิงลบกับปฏิกิริยาตลาด แสดงให้เห็นว่ารายงาน ESG ที่นำเสนอในรายงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืนช่วยลดความไม่สมมาตรของข้อมูล ทำให้นักลงทุนมีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน จากผลการศึกษาดังกล่าวหน่วยงานกำกับดูแลจึงควรให้ความสำคัญกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างชัดเจน เพื่อให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจสำหรับนักลงทุนรวมถึงผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรายงาน ESG สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ</p>
วีระวรรณ ศิริพงษ์, ปิ่นประภา แสงจันทร์, ปาริฉัตร ศิลปเทศ
Copyright (c) 2024 วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272789
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272998
<div> งานวิจัยนี้ตอบสนองความต้องการในการระบุและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ในประเทศไทย เมื่อพิจารณาถึงพลวัตและความท้าทายที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ต้องเผชิญ การเข้าใจปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญต่อนักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย และบริษัทเอง งานวิจัยมุ่งเน้นไปที่ส่วนเฉพาะของตลาดการเงินไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานที่ส่งผลต่อความแข็งแกร่งทางการเงิน ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในการเสริมสร้างสุขภาพการเงินและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในบริบทของตลาดเกิดใหม่ งานวิจัยนี้ไม่เพียงแต่มีส่วนช่วยในวาทกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินเท่านั้น แต่ยังเสนอการปฏิบัติสำหรับ<br />ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องการศึกษาลักษณะของตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ อีกด้วย การวิจัยนี้ศึกษาค้นคว้าผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการใน 5 มิติที่แตกต่างกันต่อเสถียรภาพทางการเงิน ได้แก่ ขนาดคณะกรรมการ สัดส่วนของกรรมการอิสระ บทบาทคู่ระหว่างซีอีโอและประธานคณะกรรมการ การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบัน จากการวิเคราะห์ด้วยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวนี้ไม่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงทางการเงิน ผลการวิจัยยังพบว่าความมั่นคงทางการเงินไม่ส่งผลต่อผลตอบแทนหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รอง (เอ็ม เอ ไอ) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่า ภายในบริบทที่ตรวจสอบ ระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทเหล่านี้ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของตลาดหุ้น ลักษณะของบริษัทที่จดทะเบียนใน MAI รวมถึงสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบและการตลาดที่เป็นเอกลักษณ์ของ MAI อาจเป็นสาเหตุของสิ่งนี้</div>
รสิตา สังข์บุญนาค, วัฒนชัย แสงสุวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272998
Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700