https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/issue/feed
วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
2024-09-20T18:08:18+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย ศุภธาดา
jfac@tfac.or.th
Open Journal Systems
<table width="100%"> <tbody> <tr> <td style="vertical-align: text-top; padding: 0px 15px; background: #b5e2f7; border: #b5e3f8; color: #006fbb; line-height: 2;" width="70%"> <p> </p> <p> สองสามปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเจอวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก การทุจริตรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ปรากฏเป็นข่าว นับเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายกับผู้ถือหุ้นจำนวนมาก สะท้อนถึงปัญหาด้านธรรมาภิบาลและการทุจริตที่ถูกเปิดเผยค้นพบมากขึ้น ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์วิชาชีพการบัญชีอย่างหลีกเลี่ยงมิได้</p> <p> ประเด็นคำถามสำคัญคือการตรวจสอบภายในและการตรวจสอบบัญชีมีบทบาทมากน้อยเพียงไรในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ข้อปฏิบัติและจรรยาบรรณวิชาชีพจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมอื่นหรือไม่ รวมทั้งคำถามสังคมที่ดังเซ็งแซ่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นสภาวิชาชีพบัญชี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์</p> <p> ในระหว่างนี้ ทางออกคือบริษัทมหาชนทั้งหลายควรต้องฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับเทคนิคด้านการบัญชีนิติวิทยา ใช้นโยบายการจัดการความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงและต่อต้านการทุจริต ดำเนินการแนวทางเลือกเพื่อช่วยตรวจตราความผิดปกติในงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ มีมาตรการการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสเพื่อส่งเสริมให้มีการรายงานกิจกรรมการทุจริต ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลเองก็ควรพัฒนากฎระเบียบและช่องทางเพื่อส่งเสริมวิชาชีพด้านการบัญชีนิติวิทยา บทบาทการบัญชีนิติวิทยาอาจเป็นทางเลือกทางออกของการสร้างความศรัทธาเชื่อมั่นในวิชาชีพบัญชีให้กลับคืนมา การบูรณาการการบัญชีทางนิติวิทยาและการกำกับดูแลกิจการสามารถช่วยป้องกันและตรวจจับความผิดปกติทางการเงิน ส่งเสริมความรับผิดชอบและความโปร่งใสและเพิ่มความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการเงินขององค์กรได้</p> <p> มาช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายต่อวิชาชีพบัญชีอีกในอนาคต เพื่อสร้างความยั่งยืนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกท่านครับ</p> </td> <td style="vertical-align: text-top; padding: 0px 10px;" width="30%"> <div style="vertical-align: text-top; display: block; width: 100%; background-color: #0097de; color: #fff; text-align: center; padding: 10px; font-size: 17px;"><span style="color: rgba(0, 0, 0, 0.84);"><span style="font-size: 14px;">สาส์นจากบรรณาธิการ <br />ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย ศุภธาดา</span></span></div> <img style="max-width: 100%;" src="https://so02.tci-thaijo.org/public/site/images/praphatz/307108.jpg" /><br /><a style="display: block; width: 100%; background-color: #007f91; color: #fff; text-align: center; padding: 10px; font-size: 17px;" href="https://www.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/editor-talk"><span style="color: rgba(0, 0, 0, 0.84);"><span style="font-size: 14px;">อ่านเพิ่มเติม >> </span></span></a></td> </tr> </tbody> </table>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/271327
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในองค์กรต่อกระบวนการสอบบัญชี
2024-06-22T05:26:54+07:00
ณัฏฐ์ชนินท์ ชีวานุตระ
natchanin.j@oag.go.th
วชิระ บุณยเนตร
wachira@cbs.chula.ac.th
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีในองค์กรต่อกระบวนการตรวจสอบบัญชี และเปรียบเทียบผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในองค์กรต่อกระบวนการสอบบัญชีจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ รวมถึงการปรับตัวของผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีหากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการสอบบัญชี การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชี จำนวน 116 คน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test และ One - Way ANOVA</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า การใช้เทคโนโลยีในองค์กรส่งผลกระทบต่อขั้นตอนการวางแผน และขั้นตอนการปฏิบัติงานตรวจสอบระดับมาก อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการเสร็จสิ้นการสอบบัญชีและการออกรายงานการสอบบัญชีได้รับผลกระทบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระดับปานกลาง นอกจากนั้นผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีที่มีเพศต่างกันมีความเห็นต่อระดับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในองค์กรต่อขั้นตอนการวางแผนการตรวจสอบต่างกัน และผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีที่สังกัดสำนักงานสอบบัญชีต่างกันมีความเห็นต่อระดับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในองค์กรต่อขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างกัน การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการปฏิบัติงานสอบบัญชี การศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีที่สามารถปรับกระบวนการตรวจสอบให้เข้ากับเทคโนโลยีขององค์กรที่ถูกตรวจสอบ และเห็นถึงโอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานสอบบัญชี</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/269765
ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
2024-06-13T09:11:34+07:00
เกษศิณี ศิริรุ่งวัฒนชัย
ketsineeeee@gmail.com
ศุภิสรา พรหมอักษร
supitsara.pr@ku.th
ชุติกร วชิรกิติกุล
chutikorn.w@ku.th
ธนพร เพ็ชรัตน์
tanaporn.pet@ku.th
นลินพร ลอยฉิม
narinpron.l@ku.th
อรวรรณ อินธนู
orawan.int@ku.th
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการวางแผนภาษีและราคาหลักทรัพย์ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2561-2565 รวมเวลา 5 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษารวม 44 บริษัท โดยใช้การวางแผนภาษี ประกอบด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) อัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) และอัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์ (TAX/TOTAL ASSET) เป็นตัวแปรอิสระ และราคาหลักทรัพย์ (Stock Price) เป็นตัวแปรตาม และใช้ขนาดของกิจการ (Size) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และความเสี่ยงทางการเงิน (D/E Ratio) เป็นตัวแปรควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์รวม (TAX/TOTAL ASSET) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาหลักทรัพย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) และอัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) ไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสภาวิชาชีพบัญชี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JFAC/article/view/272305
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานและมูลค่ากิจการของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2024-08-02T15:48:41+07:00
ษิรินุช นิ่มตระกูล
sirinuch_nim@utcc.ac.th
ณัฐมล จรัสเรืองอุทัย
natthamon_j@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงาน และมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 462 ตัวอย่าง ตัวแปรอิสระ คือ โครงสร้างเงินทุน ในขณะที่ตัวแปรตามประกอบด้วยผลการดำเนินงานและมูลค่ากิจการ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างเงินทุนที่วัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความสามารถในการทำกำไรที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น รวมถึงมีความสัมพันธ์เชิงลบกับมูลค่ากิจการด้วย นอกจากนั้น ยังพบว่าโครงสร้างเงินทุนที่วัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและมูลค่ากิจการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อกิจการมีการก่อหนี้จากแหล่งภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้กิจการมีต้นทุนของเงินทุนที่เกิดจากการก่อหนี้สูงขึ้น โดยอาจสูงกว่าผลตอบแทนและมูลค่ากิจการที่สามารถสร้างได้ ในขณะที่โครงสร้างเงินทุนที่วัดด้วยอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่ากิจการ ทั้งนี้ กิจการที่มีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง แสดงว่ากิจการมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังพบว่าขนาดกิจการ อัตราการเติบโต และกลุ่มอุตสาหกรรม มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานและมูลค่ากิจการ โดยคาดว่าองค์กรต่างๆ จะสามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ในการกำหนดระดับโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลการดำเนินงานและมูลค่ากิจการ</p>
2024-09-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสภาวิชาชีพบัญชี