ความคาดหวังที่มีต่อการสอบบัญชีระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้ใช้งบการเงิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระมุ่งเน้นเพื่อศึกษาความแตกต่างของความคาดหวังในการสอบบัญชีระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้ใช้งบการเงิน โดยประเด็นความคาดหวัง ได้แก่ บทบาทและหน้าที่ของผู้สอบบัญชี ความเข้าใจในรายงานของผู้สอบบัญชี ความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี และความรับผิดทางกฎหมายของผู้สอบบัญชี การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ได้แก่ Mann-Whitney U Test
ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สถิตเชิงพรรณนาชี้ให้เห็นว่า โดยรวมผู้ใช้งบการเงินความคาดหวังในการสอบบัญชีสูงกว่าผู้สอบบัญชีในทุกประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในรายงานของผู้สอบบัญชี และบทบาทและหน้าที่ของผู้สอบบัญชี ส่วนประเด็นที่มีความแตกต่างกันน้อยที่สุดคือความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี นอกจากนี้จากการทดสอบสมมติฐานทางสถิติของความแตกต่างที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 พบความคาดหวังที่แตกต่างมากที่สุดในประเด็นความเข้าใจในรายงานของผู้สอบบัญชี ได้แก่ ผู้ใช้งบการเงินคาดหวังให้ผู้สอบบัญชีเปิดเผยวิธีการตรวจสอบบัญชีในรายงานของผู้สอบบัญชี และเห็นว่าการระบุเรื่องสำคัญในการตรวจสอบเป็นการลดความรับผิดชอบในการตรวจไม่พบข้อผิดพลาดในงบการเงิน การศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลเพื่อหาแนวทางในการลดความแตกต่างของความคาดหวังจากการศึกษาในครั้งนี้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสภาวิชาชีพบัญชี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วนไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสภาวิชาชีพบัญชี ก่อนเท่านั้น
References
ศักรินทร์ ถิรธรรมพล. (2551). การเปรียบเทียบช่องว่างของความคาดหวังในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีกับผู้ใช้งบการเงินในเขตจังหวัดสงขลา (การศึกษาอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สาวิตรี อ่องธรรมกุล. (2547). ความคาดหวังที่มีต่อการสอบบัญชีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2562), ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561 (Online). แหล่งที่มา: http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66981.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2562), คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (Online). แหล่งที่มา: http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66981.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2562), มาตรฐานการสอบบัญชี ปี 2562 (Online). แหล่งที่มา: http://www.tfac.or.th/Article/Detail/118586.
American Institute of Certified Public Accountants, Commission on Auditors’ Responsibilities (1978). Report, Conclusions and Recommendations. New York, NY.
Association of Chartered Certified Accountants (2019). Closing the expectation gap in audit. United Kingdom.
Boonyanet, W and Ongthammakul, S (2006). Expectation gap in Thai auditing society: Changes and comparison of its neighbors. Paper presented at XVIII Asian Pacific Conference on International Accounting Issues, Hawaii, USA, October 15-18, 2006.
Gunz, Sally and McCutcheon, John (1991). Some Unresolved Ethical Issues in Auditing. Journal of Business Ethics, 10(10), 777-785.
Lee, TH, Ali, AM, Gloeck, JD, Yap, CS, Ng, YL, Boonyanet, W (2010). The audit expectation gap in Thailand. The Southern African Journal of Accountability and Auditing Research, 10, 1-17.
Liggo, C.D. (1974). The expectation gap: the accountant’s Waterloo. Journal of Contemporary Business, 3, 27-44.
Olojede, Paul, Erin, Olayinka, Asiriuwa, Osariemen and Usman, Momoh (2020). Audit expectation gap: an empirical analysis. Future Business Journal. 6(10), 1-12.
Porter, B. (1993). An empirical study of the audit expectation-performance gap. Accounting and Business Research, 24, pp. 49-68.
Ruhnke, Klaus and Schmidt, Martin (2014). The audit expectation gap: existence, causes, and the impact of changes. Accounting and Business Research, 44 (5), 572–601.
Salehi, Mahdi (2011). Audit expectation gap: Concept, nature and trace. African Journal of Business Management, 5(21), pp. 8376-8392.
Turner, J, Mock, T, Coram, P and Gray, G (2010). Improving Transparency and Relevance of Auditor Communications with Financial Statement User. Current Issues in Auditing, 4(1), A1–A8.