
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
วารสารฯ ของเราเป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จัดอยู่ในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่มที่ 2
ค่า IF ประจำปี 2561 = 0.663
นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์
วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต มีนโยบายในการรับตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ที่มีคุณภาพในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีสาระครอบคลุมวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร วิสาหกิจชุมชน สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษา การจัดการระบบชุมชน โดยให้ความสำคัญในด้านการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาชุมชนและเพิ่มคุณภาพชีวิต
ISSN: 2630-0443 (Print)
ISSN: 2630-0451 (Online)
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงาน วิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาบทความ
บทความที่ผ่านกระบวนการส่งเข้ามาเพื่อรอการพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างน้อย 3 ท่าน/บทความ (Double Blinded)
ประเภทของบทความ
บทความวิจัย (Research Article)
บทความวิชาการ (Original Paper)
ผู้ให้การสนับสนุน
วารสารฯ ได้รับการสนับสนุนจาก
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
กำหนดการตีพิมพ์วารสารฯ ทุกๆ 4 เดือน
(มกราคม - เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม, กันยายน - ธันวาคม)
โดยจะนำเสนอในรูปแบบ E-journal บนเว็บไซต์วารสารฯ (ThaiJO)
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
" ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ"
Announcements
ฉบับปัจจุบัน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2023): มกราคม - เมษายน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน
สวัสดีปีใหม่ 2566 ปีนี้ปีกระต่าย น่าจะมีอะไรที่ใหม่ ๆ มาให้ผู้อ่านวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต ซึ่งฉบับนี้เป็น ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มีผลงานวิจัยหลากหลาย จำนวน 8 เรื่อง ซึ่งมีทั้งวิสาหกิจชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่ทันสมัยในยุคนี้ คือ การพัฒนาสติกเกอร์ไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัย ของ การขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ รวมถึงการถอดบทเรียนของนิคมสร้างตนเองในเขตภาคเหนือ อีกทั้งยังมีการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนปกาเกอะญออีกด้วย นับว่ามีผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ที่นักวิจัยได้ศึกษาจนตกผลึก นำมากลั่นกรองเป็นบทความวิจัย ที่เสนอให้กับผู้อ่าน เพื่อเป็นอาหารสมอง และยังนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชุมชนของตนเองอีกด้วย
ทางกองบรรณาธิการ ขอขอบคุณนักวิจัย และทีมงาน ที่ได้แบ่งปันองค์ความรู้มาถ่ายทอดในวารสารฯ ฉบับนี้ ซึ่งหวังว่าคงได้รับการอนุเคราะห์ในฉบับต่อไป และขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามวารสารฯ มาอย่างต่อเนื่อง ผมขอขอบคุณผู้วิจัย และทีมงาน ที่เชื่อมั่นและศรัทธาในวารสารฯ ได้ส่งผลงานวิจัยดี ๆ มาตีพิมพ์ในวารสารต่อไป
พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ
เผยแพร่แล้ว: 26-01-2023