จริยธรรมในการตีพิมพ์
วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต ดำเนินการจัดพิมพ์และเผยแพร่โดยเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคเหนือตอนบน เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โดยการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ความคิด ในรูปของการเสนอ บทความทางวิชาการ งานวิจัย ความคิดเห็น บทวิจารณ์ การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาชุมชนฐานรากหรือก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดีและจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ตามบทบาทหน้าที่ดังนี้


บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ 
1. ผู้เขียนต้องรับรองอย่างชัดเจนว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งใด ๆ มาก่อน และไม่คัดลอกผลงานจากผู้อื่น
2. ผู้เขียนต้องไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยควรรายงานผลที่เกิดขึ้นจริงจากการทำวิจัย
3. หากมีการนำข้อความใด ๆ มาใช้ในผลงานของผู้เขียน ผู้เขียนควรอ้างอิงอย่างถูกต้อง รวมทั้งทำเอกสารอ้างอิงไว้ในตอนท้ายของบทความ
4. ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ทางวารสารได้กำหนดไว้
5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกท่าน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการค้นคว้า และดำเนินการวิจัยอย่างแท้จริง
6. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย ภายในบทความและระบุผลประโยชน์ทับซ้อนภายในบทความ
7. วารสารที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ประเมินให้เป็นอันตกไป ไม่สามารถนำมาประเมินใหม่หรือนำเสนอใหม่ได้อีกครั้ง ไม่ว่ากรณีใด ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอของผู้ประเมินแล้วก็ตาม


บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการต้องกลั่นกรองและพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ๆ ไม่ว่ากรณีใด
3. บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว
4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่แหล่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว
5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว
6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และกองบรรณาธิการ


บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่น ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการ หากผู้ประเมินตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความ
3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ
4. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินและวิจารณ์เนื้อหาเชิงวิชาการและให้ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนบทความในเชิงรายละเอียด เพื่อการปรับปรุงแก้ไขบทความ โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นสำคัญ
5. หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้ทางบรรณาธิการทราบโดยทันที

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์
ผู้เขียนบทความต้องยื่นแสดงหลักฐานจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน ที่ดำเนินการหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หากบทความมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์