วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ <center> <h4><strong>ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์</strong><strong>วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต</strong></h4> <h4><a style="color: #800080;">วารสารฯ ของเราเป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</a></h4> <h4>จัดอยู่ในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่มที่ 2</h4> <h4><a href="https://www.kmutt.ac.th/jif/Impact/detail.php?yr=2561&amp;issn=2630-0443">ค่า IF ประจำปี 2561 = 0.663</a></h4> </center> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต มีนโยบายในการรับตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ที่มีคุณภาพในสาขา<strong>มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</strong> ที่มีสาระครอบคลุมวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร วิสาหกิจชุมชน สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษา การจัดการระบบชุมชน โดยให้ความสำคัญในด้านการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาชุมชนและเพิ่มคุณภาพชีวิต</p> <p>ISSN: 2630-0443 (Print)</p> <p>ISSN: 2630-0451 (Online)</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงาน วิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p> </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <p>บทความที่ผ่านกระบวนการส่งเข้ามาเพื่อรอการพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน/บทความ</strong> โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)</p> <p><strong> </strong></p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong></p> <p>บทความวิจัย (Research Article)</p> <p>บทความวิชาการ (Original Paper)</p> <p> </p> <p><strong>ผู้ให้การสนับสนุน</strong></p> <p>วารสารฯ ได้รับการสนับสนุนจาก<br />สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์วารสารฯ ทุกๆ 4 เดือน<br /></strong>(มกราคม - เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม, กันยายน - ธันวาคม)</p> <p>โดยจะนำเสนอในรูปแบบ E-journal บนเว็บไซต์วารสารฯ (ThaiJO) <br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน<br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p><em>" ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ"</em></p> th-TH <p>กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต</p> <p>บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ</p> [email protected] (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา) [email protected] (นางสาวณัฐริกา อุตสาใจ) Mon, 22 Apr 2024 16:45:32 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาคุณภาพที่พักนักเดินทาง การท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชน บ้านเกาะเรียน ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266153 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่พักนักเดินทางโดยชุมชนของชุมชนบ้านเกาะเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่พักนักเดินทางเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนและเพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพออกเป็น 8 ขั้นตอน อาทิเช่น การลงสำรวจพื้นที่ การประชุมกลุ่มย่อย การจัดอบรมให้ชุมชน ประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการในชุมชนและวิเคราะห์ประเด็นร่วมกัน เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพที่พักนักเดินทางของชุมชนเกาะเรียนมีคุณภาพที่เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่พักนักเดินทาง ตามประกาศของกรมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2562 ส่วนในด้านศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนพบว่าชุมชนมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สูตรการทำขนมไทย มีสภาพแวดล้อมที่ยังคงรายล้อมด้วยแม่น้ำและคลองที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ อย่างไรก็ตามควรส่งเสริมด้านการตลาดออนไลน์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้าถึงของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น</p> ฉัตรชัย นิยบุญ, มนภัทร บุษปฤกษ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266153 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตังเมกรอบของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว บ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/268352 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตังเมกรอบของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งศึกษาจาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของผลิตภัณฑ์ตังเมกรอบ คือ ประธานและรองประธานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 คน สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน และผู้อาวุโสในชุมชน จำนวน 2 คน และกลุ่มที่ 2 ศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน ส่วนกลุ่มที่ 3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่เทศบาลน้ำเชี่ยว จำนวน 2 คน และคณะผู้วิจัย จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ตังเมกรอบของบ้านน้ำเชี่ยวมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านสีสัน และรสชาติ สมาชิกกลุ่มมีความรู้และทักษะความชำนาญในการผลิตตังเมกรอบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตังเมกรอบด้วยการเพิ่มรสชาติกาแฟ และบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลลวดลายไม้ตรงบริเวณกล่อง มีประวัติบ้านน้ำเชี่ยวและโลโก้บนบรรจุภัณฑ์</p> กฤตติยา สัตย์พานิช, กฤษณา ถนอมธีระนันท์, ปัญญาณัฐ ศิลาลาย, ณรงค์ อนุพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/268352 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ของกลุ่มฮักงานผ้า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267113 <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับสมาชิกกลุ่ม 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ และ 3) ศึกษาแนวทางในการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ กลุ่มฮักงานผ้า ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มประกอบการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มฮักงานผ้า มีสมาชิกจำนวน 15 คน เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 60-78 ปี โดยกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ 2 อย่าง คือ (1) กระเป๋า และ (2) พวงกุญแจ 2) แนวทางในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ (1) ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน (2) อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อหาอัตลักษณ์ สกัดชื่อแบรนด์ ตราสินค้า (3) ผลิตภัณฑ์ ที่ได้ออกแบบและพัฒนา และ (4) สรุปผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 3) แนวทางในการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ คือ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ อบรมการใช้สื่อเทคโนโลยีและอบรมการใช้งานเพจผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มเฟชบุ๊ค (2) มอบอุปกรณ์ไลฟ์สดให้กับกลุ่ม และ (3) การทดลองใช้สื่อเทคโนโลยี โดยการใช้เพจบนแพลตฟอร์มเฟชบุ๊ค</p> รัตนา สุวรรณทิพย์, นิสากร พุทธวงศ์, คงฤทธิ์ รีวงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267113 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการผลิตภัณฑ์แปรรูปภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266965 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีรูปแบบกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา จำนวน 8 กลุ่ม จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 205 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่าง 1 วิสาหกิจชุมชน จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจการยอมรับผลิตภัณฑ์ จากคนในชุมชนจำนวน 20 คน และคนภายนอกชุมชน จำนวน 40 คน พบว่าการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทอดมันลีลา เป็นนวัตกรรมในการใช้ปลาตองกรายและมะพร้าวขูดในการทำทอดมันปลา ภายใต้ภูมิปัญญาการหาปลา มีการนำเอาวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ และเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่วนใหญ่มีความพอใจในรสชาติและทิศทางความพอดี สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปลาเขื่อนลำปาว และ มะพร้าวบ้านสะอาดนาทม ชุมชนเกิดความสามัคคี มีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม สร้างสรรค์องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ของชุมชน ทำให้คนรุ่นใหม่มองเห็นประโยชน์และความสำคัญของทรัพยากร ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถสร้างรายได้ประมาณ 5,000 บาท/เดือน ให้กับวิสาหกิจชุมชนต่อไป</p> เพ็ญสริ ภูวรกิจ, สุกัญญา ดวงอุปมา, กรกนก ดลโสภณ Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266965 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ปลูกผัก ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267778 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ทักษะการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรโดยใช้สารชีวภัณฑ์และลดการใช้สารเคมีในแปลงผัก เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกผัก ต.กระสัง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 25 ราย มีขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์บริบทของกลุ่ม 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีชีววิธีและอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) การติดตามและประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการขยายสารชีวภัณฑ์และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องในแปลงของตนเองเพิ่มจากเดิมร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 69 ลดการใช้สารเคมีซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ร้อยละ 25.19 ได้เกษตรกรต้นแบบที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้สารชีวภัณฑ์และการเพิ่มสมาชิกเครือข่ายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ทำให้ผักที่ผลิตได้ มีราคาที่สูงขึ้น ผลผลิตผักมีความปลอดภัยส่งถึงผู้บริโภคอย่างมั่นใจและเกิดความยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ผลิตผัก</p> ประยูร มาลีหวล, ไชยธีระ พันธุ์ภักดี Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267778 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลสัมฤทธิ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ในเชิงเกษตรของเกษตรกร ตำบลบ้านชุ้ง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266961 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในเชิงเกษตรของเกษตรกร และ2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในเชิงเกษตรของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นชาวบ้านในชุมชน ตำบลบ้านชุ้ง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่สนใจเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในเชิงเกษตรด้วยความสมัครใจ จำนวน 14 คน โดยผ่านการประชาสัมพันธ์จากผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน การดำเนินการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนา โดยการออกแบบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีความเหมาะสม ผ่านชุดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สื่อการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในเชิงเกษตร จำนวน 40 ข้อ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาพรวม เรื่อง การใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในเชิงเกษตร ของผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้ หลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้ มีผลทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เพิ่มมากขึ้น</p> กิตติศักดิ์ ดิษฐลักษณ์, วราภรณ์ เต็มแก้ว, อภิรดา นามแสง Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266961 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะ บนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ภูมิภาคตะวันตก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/264563 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ภูมิภาคตะวันตก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้นำกลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ชุมชนบ้านเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงชุมชนบ้านพุนํ้าร้อน จังหวัดราชบุรี โดยทั้ง 2 ชุมชนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเป็นสังคมเครือญาติ มีการพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน มีปัญหาความขัดแย้งในชุมชนน้อย ส่งผลให้ชุมชนมีการขับเคลื่อนกิจกรรมผ่านการผลักดันของผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนที่ประชาชนเป็นผู้เลือกเข้ามาทำหน้าที่ส่งผลทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานของชุมชนในการจัดการปัญหาในพื้นที่ได้ และมีระบบการแพทย์พื้นบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในการดูแลสุขภาพและรักษาการเจ็บป่วยของประชาชนทั้งภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพอื่น ๆ และการใช้สมุนไพรกับผู้ป่วยติดเตียง ในส่วนของศักยภาพของชุมชนที่เอื้อต่อการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะบนฐานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ พบว่า ทั้ง 2 ชุมชนมีการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับส่งเสริมชุมชนสุขภาวะดังนี้ 1) การตรวจสุขภาพประจำปี 2) มีการจัดกิจกรรมควบคุมและป้องกันการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่) มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ รีสอร์ต โฮมสเตย์ ในพื้นที่โดยดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ 3) มีการจัดกิจกรรมการสร้างแกนนำเฝ้าระวังอุบัติเหตุในชุมชน และจัดกิจกรรมการยกระดับมาตรฐานท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืน 4) การรณรงค์รับประทานอาหารให้ครบถูกต้องตามหลักโภชนาการ</p> ธิดารัตน์ สืบญาติ, ภารณี นิลกรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/264563 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาโอกาสและแนวทางการพึ่งพาตนเองในการดูแลและป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชน ในพื้นที่ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266205 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสและแนวทางการพึ่งพาตนเองของประชาชนในการดูแลและป้องกัน โรคโควิด-19 ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีค่า IOC อยู่ที่ 0.8-1 เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โอกาสการพึ่งพาตนเองในการดูแลและป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยการแพทย์แผนไทยมี 2 ส่วน คือ 1) โอกาสในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 2) โอกาสการดูแลรักษาโรคโควิด-19 ด้วยการพึ่งพาตนเอง 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) หยุดการแพร่ระบาดโดยให้ประชาชนอยู่กับที่ (2) กักโรคติดเชื้อทางเดินหายใจด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือ (3) รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเป็นประจำ (4) รับประทานสมุนไพรเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อ (5) ใช้สมุนไพรแก้อาการเจ็บป่วยเพื่อต่อสู้กับเชื้อ ดังนั้นหากมีการนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ควรมีการปรับแนวทางให้สอดคล้องกับบริบทของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ</p> ศิริพักตร์ จันทร์สังสา, สุวนันท์ แก้วจันทา, จิราพร หัตถผะสุ, กันยานุช เทาประเสริฐ, ยิ่งยง เทาประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/266205 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการดูแลจิตใจด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267205 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลจิตใจด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากหัวหน้าชุดโครงการวิจัยและทีมประสานงานโครงการวิจัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชนเผ่า จำนวน 3 คน เกี่ยวกับกระบวนการดูแลรักษาสุขภาพด้วยพิธีกรรมของการแพทย์พื้นบ้านล้านนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากนั้นจึงนำข้อมูลไปใช้และวิเคราะห์ผลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งมี 3 กลุ่มอาการ ได้แก่ 1) กลัว วิตกกังวลและเครียด 2) โกรธตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า และ 3) ท้อแท้ สิ้นหวัง ซึมเศร้า สามารถประยุกต์ใช้กระบวนวิธีการป้องกันและการดูแลรักษาด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนาด้วยพิธีกรรมบำบัด ได้แก่ กลุ่มดูเมื่อและทำนายฤกษ์ยาม กลุ่มขจัดปัดเป่า กลุ่มสร้างขวัญและกำลังใจ กลุ่มเจริญสติและทำใจ และกลุ่มสร้างความร่มเย็นเป็นสิริมงคล เพื่อเสริมประสิทธิภาพการดูแลรักษาของแพทย์แผนไทยและเพิ่มคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง</p> หทัยกาญจน์ เยาวบุตร, ณิศรา ชัยวงค์, กันยานุช เทาประเสริฐ, นภาพร ณ อุโมงค์, วนิษา ปันฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267205 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 ประเด็นความขัดแย้งและแนวทางแก้ไข กรณีศึกษา โครงการสำรวจและออกแบบ ทางต่างระดับ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267697 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการสำรวจและออกแบบทางต่างระดับในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์<br />เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 33 คน จากการทบทวนเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง พบว่า สาเหตุความขัดแย้งเกิดขึ้นมาจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนในพื้นที่ยังไม่ครอบคลุมและหน่วยงานภาครัฐเข้าไม่ถึงผู้มีส่วนได้เสียที่แท้จริงทุกกลุ่ม มีข้อห่วงกังวลเรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อม<br />ต่อสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น การจราจรติดขัด และอุบัติเหตุในช่วงระยะก่อสร้างโครงการ แนวทางการจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ การยอมรับด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การรับฟังความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ <br />การมีตัวแทนจากภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาทในการเจรจาต่อรองในเรื่องการชดเชยการเวนคืนที่ดิน และทรัพย์สินต่าง ๆ แทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยใช้การร่วมมือกันเพื่อหาทางออกจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น</p> กนกกุล เพชรอุทัย Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/267697 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700