https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/issue/feed วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2024-12-17T15:07:20+07:00 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา journals.unrn@gmail.com Open Journal Systems <center> <h4><strong>ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์</strong><strong>วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต</strong></h4> <h4><a style="color: #800080;">วารสารฯ ของเราเป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</a></h4> <h4>จัดอยู่ในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่มที่ 2</h4> <h4><a href="https://www.kmutt.ac.th/jif/Impact/detail.php?yr=2561&amp;issn=2630-0443">ค่า IF ประจำปี 2561 = 0.663</a></h4> </center> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต มีนโยบายในการรับตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ที่มีคุณภาพในสาขา<strong>มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</strong> ที่มีสาระครอบคลุมวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร วิสาหกิจชุมชน สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษา การจัดการระบบชุมชน โดยให้ความสำคัญในด้านการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาชุมชนและเพิ่มคุณภาพชีวิต</p> <p>ISSN: 2630-0443 (Print)</p> <p>ISSN: 2630-0451 (Online)</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงาน วิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p> </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <p>บทความที่ผ่านกระบวนการส่งเข้ามาเพื่อรอการพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน/บทความ</strong> โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)</p> <p><strong> </strong></p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong></p> <p>บทความวิจัย (Research Article)</p> <p>บทความวิชาการ (Original Paper)</p> <p> </p> <p><strong>ผู้ให้การสนับสนุน</strong></p> <p>วารสารฯ ได้รับการสนับสนุนจาก<br />สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์วารสารฯ ทุกๆ 4 เดือน<br /></strong>(มกราคม - เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม, กันยายน - ธันวาคม)</p> <p>โดยจะนำเสนอในรูปแบบ E-journal บนเว็บไซต์วารสารฯ (ThaiJO) <br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน<br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p><em>" ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ"</em></p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/270451 หญ้าแฝกกับการสร้างความยั่งยืนในการทำเกษตร กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงบ้านท่าทอง ตำบลปากน้ำ จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-05-12T20:29:35+07:00 Bussarin Duangden bussarin.d@chula.ac.th อุ่นเรือน เล็กน้อย bussarin.d@chula.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong>:</strong> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการยอมรับการนำหญ้าแฝกมาใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงบ้านท่าทอง ตำบลปากน้ำ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและแนวคิดห่วงโซ่ผลลัพธ์ ในการวิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่นำไปสู่ผลลัพธ์ในระยะยาว เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการขยายผลการสร้างการยอมรับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 5 กระบวนการ คือ 1) การค้นหาเงื่อนไขปัญหาของชุมชน 2) การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกร 3) การขยายผลการใช้หญ้าแฝกโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4) การต่อยอดการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร และ 5) การเป็นพื้นที่ต้นแบบในด้านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งกระบวนการขับเคลื่อนดังกล่าว เป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกรในชุมชนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/270160 ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-04-30T10:45:11+07:00 เสาวณีย์ เล็กบางพง lekbangpong04@gmail.com ภัคสุดา คุ้มกุมาร Lekbangpong04@gmail.com ธรียา ลายทิพย์ Lekbangpong04@gmail.com บุษยมาศ ดวงจันทร์ Lekbangpong04@gmail.com <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตทุเรียน ความต้องการและปัญหาการส่งเสริมการผลิตทุเรียน ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนแปลงใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 52 ราย ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.31 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน อาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่ปลูกทุเรียนสายพันธุ์หมอนทองเฉลี่ย 6.77 ไร่ ดินที่ปลูกเป็นดินร่วน ความถี่ในการให้น้ำเฉลี่ย 2.98 ครั้ง/สัปดาห์ มีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ผู้ซื้อมารับซื้อในท้องถิ่น ราคาจำหน่ายผลผลิตทุเรียนเฉลี่ย 135.67 บาท/กิโลกรัม มีความต้องการความรู้การส่งเสริมการผลิตทุเรียนภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) ความต้องการช่องทางส่งเสริม คือ สื่อบุคคล <br />มีปัญหาเกี่ยวกับความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.72) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรวางแผนการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง และสามารถใช้สื่อในการเข้าถึงเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/270632 การพัฒนาสถานที่ผลิตพริกทอดสู่มาตรฐานสากลเพื่อยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ ตำบลกาหลง อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 2024-05-20T07:04:06+07:00 พรชัย พรหฤทัย peerawat.me@bsru.ac.th พีรวัจน์ มีสุข peerawat.me@bsru.ac.th นฏกร สิริมงคลกาล peerawat.me@bsru.ac.th ศิริรัตน์ ศรอินทร์ peerawat.me@bsru.ac.th อนุรักษ์ ใจวังโลก peerawat.me@bsru.ac.th นุกูล สาระวงศ์ peerawat.me@bsru.ac.th ณัฏฐกิตติ์ เหมทานนท์ peerawat.me@bsru.ac.th <p>บทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาสถานที่ผลิตพริกทอดที่เป็นผลิตภัณฑ์ของตำบลกาหลง อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยการดำเนินงานมีกลุ่มประชากร ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มชาวบ้านที่กำลังพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน 2) กลุ่มอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 20 คน 3) นักวิชาการสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 3 คน การดำเนินงานเริ่มจากการสำรวจสถานที่ผลิต จากนั้นขอคำปรึกษาจากนักวิชาการสาธารณสุขเพื่อออกแบบให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะปรับสถานที่ใหม่ทั้งหมดโดยมีการจัดห้องตามกระบวนการผลิตเริ่มจาก ห้องเปลี่ยนชุด ห้องเตรียมวัตถุดิบ ห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องทอด และห้องบรรจุ หลังทำการปรับปรุงสถานที่ผลิตพริกทอดให้ได้ตามมาตรฐานแล้ว ได้ดำเนินการจัดทำเอกสารเพื่อตรวจรับรองสถานที่ผลิต และนำผลิตภัณฑ์พริกทอดไปทดสอบคุณค่าทางโภชนาการพร้อมออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ประกอบการขอจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนและการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/272054 การศึกษาเพื่อเตรียมการจัดตั้งโครงการเพิ่มพันธุ์หอยชักตีน โดยชุมชนประมงในจังหวัดตรัง 2024-07-10T17:28:07+07:00 วรรณกร พลพิชัย mamoz-@hotmail.com ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ Wannakorn.p@rmutsv.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการก่อตั้งโครงการและความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการเพิ่มพันธุ์หอยชักตีนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือชาวประมงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย แพรับซื้อสัตว์น้ำ และผู้นำชุมชน จำนวน 140 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าผู้ที่ควรเข้าร่วมดำเนินโครงการมากที่สุดคือชาวประมง สถานที่ที่ควรใช้ดำเนินงานคือ บริเวณชายหาด ผู้ที่ควรจะเข้าไปใช้ประโยชน์คือ ชาวบ้านในชุมชน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการจัดตั้งโครงการนี้ว่าดีมาก ถ้าจะทำให้โครงการนี้สำเร็จจะต้องเกิดจากความร่วมมือ ผู้ที่มีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการมากที่สุด ลำดับที่ 1 คือผู้ใหญ่บ้าน และแหล่งงบประมาณที่ควรให้การสนับสนุนโครงการที่ถูกเลือกเป็นลำดับที่ 1 คือกรมประมง 2) ความคิดเห็นต่อการก่อตั้งโครงการพบว่า ชาวประมงเห็นด้วยอยู่ในระดับสูง 3) ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการอยู่ในระดับสูงมาก</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/269788 แนวทางการพัฒนาการตลาดไม้ประดับของชุมชนบ้านโคกพลวง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2024-04-16T22:46:35+07:00 ยศ บริสุทธิ์ yosboris@kku.ac.th พรรษา สมณะ yospure@gmail.com <p>การศึกษานี้มุ่งศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดไม้ประดับของชุมชนบ้านโคกพลวง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเริ่มจาก (1) ประยุกต์ใช้เทคนิค RRA ในการทำความเข้าใจบริบทชุมชน ไม้ประดับของชุมชนบ้านโคกพลวงในช่วงเดือนตุลาคม 2565 - มกราคม 2566 และ (2) ประยุกต์ใช้เทคนิค AIC ในการค้นหาแนวทางการพัฒนาการตลาดไม้ประดับของชุมชนบ้านโคกพลวงในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ผลการศึกษาพบว่า <br />(1) ครัวเรือนผู้ประกอบการในชุมชนเน้นการผลิตและขายปลีกไม้ประดับด้วยตนเอง ไม้ประดับของชุมชนเป็นสินค้าที่ไม่มีความหลากหลายและมีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ต้นทุนการผลิตสูง ขาดความรู้และทักษะด้านการผลิตและการตลาดไม้ประดับที่ทันสมัย (2) จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดไม้ประดับ พบว่า มี 2 แนวทางหลักที่สามารถดำเนินการได้ภายใน 1 ปี คือ (2.1) การพัฒนาการตลาด ด้วยการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยมีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทางย่อย คือ (ก) การพัฒนาด้านการขยายพันธุ์พืช (ข) การพัฒนาด้านการใช้สารชีวภัณฑ์ และ (ค) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงาน และ (2.2) การพัฒนาการตลาดดิจิทัลและตลาดชุมชน โดยมีแนวทางย่อย 2 แนวทาง คือ (ก) การพัฒนาการตลาดดิจิทัลไม้ประดับ และ (ข) การพัฒนาการตลาดชุมชน<br />อิเวนท์ไม้ประดับ</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/269277 การยกระดับผลิตภัณฑ์จักสานในจังหวัดน่านให้ได้รับมาตรฐาน ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2024-04-01T14:36:54+07:00 ผุสดี สายวงศ์ nudeekha@hotmail.com นพรัตน์ ดิลกสุนทร nopp_npk@hotmail.com อัญชัน ศศิวัจน์ไพสิฐ unchalada21@hotmail.com สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร Sutthikan.t@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการผลิตภัณฑ์จักสานของชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่านและยกระดับผลิตภัณฑ์จักสานให้ได้รับมาตรฐาน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยการเสวนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานจักสานที่สุ่มแบบเจาะจง จำนวน 20 คน และการตอบแบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 426 คน มีการวิเคราะห์ความสอดคล้องเชิงเนื้อหาของข้อมูลเชิงเนื้อหาและการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพในการจัดการผลิตภัณฑ์ของกลุ่มหลากลาย และกลุ่มเส้นสายลายตอกอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ความประณีตของผลิตภัณฑ์ที่ใช้หญ้าสามเหลี่ยมซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติของชุมชนผสานรวมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับวิทยาศาสตร์ และการออกแบบร่วมสมัยจะสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์มาลัย เทียน และเข็มกลัดที่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จักสานในพื้นที่จังหวัดน่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้ซื้อให้ความสำคัญกับความสวยงามของผลิตภัณฑ์มากที่สุด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มาลัย และเทียนจักสานจากหญ้าสามเหลี่ยมอยู่ระหว่างขอสิทธิบัตรออกแบบกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการใช้ประโยชน์ของชุมชนต่อไป</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/269617 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาดี - สร้างบง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 2024-04-06T12:35:41+07:00 วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท wetchaninnart@gmail.com อรชุมา มูลศรี wetchaninnart@gmail.com กมณทิพย์ ชูประทีป wetchaninnart@gmail.com เสาวนีย์ สิทธิโชติ wetchaninnart@gmail.com โศภิดา บุญจํานง wetchaninnart@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและวิเคราะห์ผลตอบแทนการดำเนินงาน และสร้างแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาดี-สร้างบง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 40 คน ได้แก่ กลุ่มไม้กวาด จำนวน 10 คน กลุ่มขนมทองพับ จำนวน 10 คน กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 10 คน และกลุ่มน้ำยาล้างจาน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อย การจัดเวทีประชาคม และการศึกษาต้นทุนใช้รูปแบบการคำนวณทางการบัญชี ผลการการศึกษาต้นทุนการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มไม้กวาดมีต้นทุนการผลิตรวมต่อด้ามเท่ากับ 12.73 บาท กลุ่มขนมทองพับมีต้นทุนการผลิตรวมต่อถุงเท่ากับ 15.92 บาท กลุ่มน้ำยาล้างจานมีต้นทุนการผลิตรวมต่อขวดเท่ากับ 17.52 บาท และกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษมีต้นทุนการผลิตรวมต่อกิโลกรัมเท่ากับ 8.77 บาท และ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนใช้การวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า กลุ่มผักปลอดสารพิษอัตรามีผลตอบแทนจากเงินลงทุน 146.22% กลุ่มไม้กวาด 113 % กลุ่มขนมทองพับ 101.46 % และกลุ่มน้ำยาล้างจาน 5.20 % ส่วนผลการศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาดี - สร้างบง พบว่า กลุ่มวิสาหกิจควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และพัฒนาการช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น </p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/271446 การพัฒนาระบบบัญชีและการจัดการต้นทุนของผลิตภัณฑ์ของชุมชนวัดไทร พระราม 3 กรุงเทพมหานคร 2024-06-18T11:01:04+07:00 สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์ surakiat.ta@dtc.ac.th สรัญญา รัตนกรทรัพย์ surakiat.ta@dtc.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษารูปแบบการจัดทำบัญชีของชุมชนวัดไทร 2) พัฒนาแนวทางการจัดการต้นทุนผลิตภัณฑ์ และ 3) กำหนดราคาขายและวางแผนกำไรที่เหมาะสม ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จากสมาชิกชมรมคนรักษ์วัดไทร 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและ ผลการศึกษารูปแบบการจัดทำบัญชีของชุมชนวัดไทร พบว่า การจัดทำบัญชีของชุมชนยังไม่เป็นระบบ ขาดการบันทึกรายรับ-รายจ่าย การคำนวณต้นทุนการผลิตที่ไม่ถูกต้องตามหลักบัญชี ขาดการจัดการสินค้าคงคลัง การตั้งราคาขายขึ้นกับราคาตลาด และขาดการวางแผนยอดขาย/รายได้ ผลการศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการต้นทุนผลิตภัณฑ์ พบว่า แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย 1) จัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีอย่างเป็นระบบ 2) สำรวจราคาวัตถุดิบ/บรรจุภัณฑ์ จัดทำบัตรวัตถุดิบและทะเบียนคุมเพื่อให้การคำนวณต้นทุนสะท้อนราคาจริง 3) รวบรวมข้อมูลต้นทุน คำนวณต้นทุนต่อหน่วย กำหนดอัตรากำไร ตั้งราคาขาย คาดการณ์ยอดขาย และติดตามยอดขาย/รายได้จริง การกำหนดราคาขายและวางแผนกำไร ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์<br />บราวนี่เพิ่มขึ้นจากเดิม 14.40 บาท เป็น 22.71 บาท ผลการศึกษาการกำหนดราคาขายและวางแผนกำไรที่เหมาะสม พบว่า ต้องมีการตั้งราคาขายใหม่ เป็น 39.43 บาท เนื่องจากต้นทุนเดิมไม่มีการคำนวณในเรื่องของค่าแรงงาน ทำให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นต่ำกว่าความเป็นจริง</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/271220 การประเมินการรับรู้ผ่านประสบการณ์การเดินทางของนักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพในจังหวัดเชียงราย 2024-06-10T15:37:44+07:00 มัลลิตา ชูติระกะ munlita.cho@crru.ac.th เสงี่ยม บุญพัฒน์ sa-ngiam.boonpat@crru.ac.th สิทธิ สิทธิกรรณ์ sitthi.sit@crru.ac.th อรวรรณ บุญพัฒน์ orawan.boo@crru.ac.th มนสิชา ซาวคำ phannipha.sao@crru.ac.th ภูวนารถ ศรีทอง phuwanat.sri@crru.ac.th สุรัชนี ยลธะศาสตร์ suratchanee.yol@crru.ac.th อุทุมพร การเก็บ uthumphorn.kan@crru.ac.th ปานดวงใจ บุญจนาวิโรจน์ panduangchai.boo@crru.ac.th <p>การพัฒนาการท่องเที่ยวก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว ความเจริญของการท่องเที่ยวที่ผ่านมาก่อให้เกิดปัญหาจำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับการรับรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวใช้กำหนดรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการท่องเที่ยว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ของนักท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวและกำหนดรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เหมาะสมและตอบสนอง<br />ความต้องการ ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ<br />ใช้แบบสอบถามตามมาตรวัดของลิเคิร์ท เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจำนวน 370 คนโดยนักท่องเที่ยวเป็นผู้กรอกคำถามด้วยตัวเอง (self-administered questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา (ความถี่ <br />และร้อยละ) ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้ของนักท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายมีลักษณะคล้ายกัน และแตกต่างกันแม้จะเป็นในเรื่องเดียวกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเดินทาง และข้อมูลการรับรู้ของนักท่องเที่ยวแต่ละคน สามารถใช้ออกแบบกิจกรรมการตลาดท่องเที่ยว และกำหนดรูปแบบในการพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของนักท่องเที่ยว</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/270625 รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีต้นจากในชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 2024-05-19T22:23:06+07:00 พีรวิชญ์ สิงฆาฬะ peravich.sin@gmail.com จุติมา บุญมี jutima.b@rmutsv.ac.th อนุตตมา บุญมี peravich.singkhala@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และ 2) เสนอรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีต้นจากในชุมชนย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สัมภาษณ์จนพบความอิ่มตัวของข้อมูลที่จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนย่านซื่อมีองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4Hs ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ร่องรอยการอยู่อาศัย 2) ความเป็นแหล่งมรดก 3) ประวัติศาสตร์ และ 4) งานศิลปหัตถกรรม และ 2) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีต้นจากในชุมชนย่านซื่อ คือ รูปแบบ EPSL Model ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาที่เชื่อมโยงการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีต้นจาก โดยนำองค์ประกอบ EPSL มาจัดการร่วมกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4Hs โดยจัดการ<br />ด้านสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการเล่าเรื่องราวและ<br />การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมวิถีต้นจากระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชน</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/269549 การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค COVID-19 ในเขตชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร 2024-04-03T13:42:35+07:00 จารุวรรณ เกษมทรัพย์ charuvan.kas@kbu.ac.th อัญชลี เชี่ยวโสธร Anchalee.che@kbu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่ไม่ติดเชื้อไวรัส จำนวน 127 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 61 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรักษาระยะห่างทางสังคม การล้างทำความสะอาดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังหยิบจับสิ่งของ และการเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อให้เกิดการระบายอากาศ ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้ ตลอดจนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นั้นคือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมนำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อโรค COVID-19 ในเขตชุมชนเมือง</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/271589 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลกระทบ ของการใช้โลจิสติกส์สีเขียวในภาคธุรกิจ 2024-06-24T00:11:08+07:00 กาจปกรณ์ นิลอรุณ kardpakorn.n@gmail.com ประสพชัย พสุนนท์ prasopchai@ms.su.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์บทความเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุและผลกระทบของการใช้<br />โลจิสติกส์สีเขียวในธุรกิจ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงเอกสารในรูปแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกบทความ ศึกษาวรรณกรรมของประเทศจากฐานข้อมูล Scopus จำนวน 6 บทความ และฐานข้อมูลในประเทศไทย โดยใช้ฐานข้อมูล Thai Journals จำนวน 3 บทความ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้โลจิสติกส์สีเขียวในธุรกิจ จำแนกเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยแรงผลักดันจากภายใน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ แรงจูงใจภายใน อุปสรรคภายใน และความกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของบริษัท ปัจจัยแรงกดดันจากภายนอก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุนจากภายนอก แรงกดดันจากสังคม และกฎหมายหรือข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับผลกระทบของการนำโลจิสติกส์สีเขียวไปใช้ในธุรกิจ 5 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจหมุนเวียน ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความสามารถทางการแข่งขัน ผลการดำเนินงานของธุรกิจ และหลักปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบสามารถสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงประจักษ์ เพื่อค้นคว้าหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุและผลกระทบของแต่ละปัจจัยต่อไป</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต