ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตทุเรียน ความต้องการและปัญหาการส่งเสริมการผลิตทุเรียน ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนแปลงใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 52 ราย ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.31 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน อาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่ปลูกทุเรียนสายพันธุ์หมอนทองเฉลี่ย 6.77 ไร่ ดินที่ปลูกเป็นดินร่วน ความถี่ในการให้น้ำเฉลี่ย 2.98 ครั้ง/สัปดาห์ มีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ผู้ซื้อมารับซื้อในท้องถิ่น ราคาจำหน่ายผลผลิตทุเรียนเฉลี่ย 135.67 บาท/กิโลกรัม มีความต้องการความรู้การส่งเสริมการผลิตทุเรียนภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07) ความต้องการช่องทางส่งเสริม คือ สื่อบุคคล
มีปัญหาเกี่ยวกับความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.72) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรวางแผนการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง และสามารถใช้สื่อในการเข้าถึงเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Chuaysuk, S., N. Seerasarn and B. Keowan. 2022. Extension of durian production according to good agriculture practices for farmers in Khao Kai Sub-district, Sawi District, Chumphon Province. Journal of Roi Kaensarn Academi 7(8): 334-352. (in Thai)
Nimkanchana, T.,Seeniang, P., Kummanee, K. and J. Thungngern. 2022. The Study of Durian Planting Patterns of Farmers in Huai Yot District, Trang Province. Agricultural Science and Management 5(3): 16-26. (in Thai)
Mankong, M. 2019. Policy and mechanism for promoting horticulture (durian) of the local government and government in Sisaket Province. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak 6(2): 61-70. (in Thai)
Office of Agricultural Economics. 2022. Situation of southern fruit trees in 2022. (Online). Available: https://
www.opsmoac.go.th/news-files-441091791314 (December 5, 2023). (in Thai)
Sakhong, P. and W. Ngamsa-ard. 2021. Development of durian supply chain management and the enhancement of durian sorting process with SCOR model principle. Journal of Science and Technology, Southeast Bangkok College 1(2): 25-38. (in Thai)
Saksri, J. and S. Weerabunkit. 2021. Value chain and development guidelines for Uttaradit Long Lab-Lae durian certified geographical indication. Journal of Management Science Pibulsongkram Rajabhat University 3(2):40-60. (in Thai)
Sarnnoi, S. and P. Bualek. 2023. Eco-way inheritance of the durian gardeners in Nonthaburi Province. Journal of Humanities and Social Sciences 7(2): 30-44. (in Thai)
Sathirakosolwong, P. and P, Treewannakul. 2019. Durian marketing management of collaborate farmers in durian, Chanthaburi province. Agricultural Science Journal 50(3):239-252. (in Thai)
Sawangsawai, T., P. Sriboonruang and P. Thongdeelert. 2019. Media exposure of durian farmers in Tha Mai district, Chanthaburi province. Agricultural Science Journal 50(2): 156-166. (in Thai)
Suradanai, S., S. Chanthachon and R. Sirisumpan. 2023. Application of local wisdom of durian cultivation on highland for promoting the community economy in Chanthaburi Province. Interdisciplinary Academic and Research Journal 3(1): 659-674. (in Thai)
Yungsuk, S. and A. Choompolsathien. 2023. Expectation’s and satisfaction of Chumphon durian farmers towards the Chumphon provincial agricultural extension office page. Media and Communication Inquiry 5(1):79-100. (in Thai)