ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
วารสารฯ ของเราเป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จัดอยู่ในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่มที่ 2
ค่า IF ประจำปี 2561 = 0.663
นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์
วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต มีนโยบายในการรับตีพิมพ์บทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ที่มีคุณภาพในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีสาระครอบคลุมวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร วิสาหกิจชุมชน สาธารณสุข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษา การจัดการระบบชุมชน โดยให้ความสำคัญในด้านการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาชุมชนและเพิ่มคุณภาพชีวิต
ISSN: 2630-0443 (Print)
ISSN: 2630-0451 (Online)
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ผลงาน วิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาบทความ
บทความที่ผ่านกระบวนการส่งเข้ามาเพื่อรอการพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน/บทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)
ประเภทของบทความ
บทความวิจัย (Research Article)
บทความวิชาการ (Original Paper)
ผู้ให้การสนับสนุน
วารสารฯ ได้รับการสนับสนุนจาก
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
กำหนดการตีพิมพ์วารสารฯ ทุกๆ 4 เดือน
(มกราคม - เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม, กันยายน - ธันวาคม)
โดยจะนำเสนอในรูปแบบ E-journal บนเว็บไซต์วารสารฯ (ThaiJO)
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
" ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ"
Announcements
ฉบับปัจจุบัน
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2025): มกราคม - เมษายน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน
สวัสดีปีใหม่ 2568 วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต ฉลองขึ้นปีที่ 13 ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 1 มีบทความวิจัยถึง 12 เรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร วิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยว สาธารณสุข และที่น่าสนใจ การทบกวนวรรณกรรม ซึ่งฉบับนี้ท่านผู้อ่านจะได้รู้ได้เข้าใจกับงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย เช่น การเพิ่มพันธุ์หอยชักตีนที่มีการเลี้ยงไม่กี่จังหวัดภาคใต้ของเรา หรือการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน เป็นต้น
สำหรับปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบปัญหาอย่างหนักของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ El Niño ในฤดูร้อนที่ผ่านมาแสนจะร้อนจัดและนาน จากนั้นก็เข้าสู่ La Niña ซึ่งเกิดฝนตกอย่างหนักทำให้ภาคเหนือเกิดน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม รวมถึงภาคใต้ก็ประสบภัยน้ำท่วมที่รุนแรงกว่าทุกครั้งที่เกิดปรากฎ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติว่าการใช้ทรัพยากรที่ขาดสมดุล จะนำมาซึ่งการเกิดภัยหายนะต่าง ๆ จากประเด็นดังกล่าว ทางวารสารฯ ต้องการบทความวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็หวังว่าจะเป็นโจทย์ให้นักวิจัยได้ดำเนินการด้านนี้ให้มากขึ้น
ผมขอบพระคุณผู้วิจัยและทีมงานทุกท่านที่ได้ส่งผลงานดี ๆ มีสาระมาแบ่งปันให้ผู้อ่านได้รับทราบและยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย หวังว่าคงได้รับการสนับสนุนจากผู้เขียนในโอกาสหน้า
พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ
เผยแพร่แล้ว: 17-12-2024