การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการจิตตปัญญา-ระบบพี่เลี้ยง-กิจกรรมแบบโครงการ-วิจัยเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างซอฟท์สกิลสำหรับนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

สรวงพร กุศลส่ง
ฐิติโชติ กุศลส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ CCPR เพื่อเสริมสร้างทักษะ SOFT SKILL สำหรับนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ  2) เพื่อสร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  3) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม รูปแบบการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ  1) ศึกษาการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ CCPR  2) การสร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ CCPR 
3) การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ CCPR กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย รวม 30 คน ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติทดสอบค่า t (t-test) และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า  1) นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการCCPR เพื่อเสริมสร้างทักษะ SOFT SKILL พบว่าด้านที่ 3 ด้านทักษะกระบวนการกลุ่มและทำงานเป็นทีม มีการประเมินตนเองมากที่สุดร้อยละ 63.80  2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีผลการประเมินอยู่ที่ระดับมาก
(gif.latex?\bar{x}= 4.49 ,SD = 0.53) และผลการเปรียบเทียบทักษะ SOFT SKILL โดยภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.57 และหลังการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.67 สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(gif.latex?\bar{x}= 4.54,SD = 0.48)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2544). สุขภาพจิตไทย พ.ศ.2543-2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาศาสตร์สาร1, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 62-71

พัชรี ผลโยธิน. (2555). ขอบข่ายการวัดประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจและสังคมของเด็กปฐมวัย. ใน อริศรา แก่นอ้วน (บ.ก.), แนวการศึกษาชุดวิชา หลักการและแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยศึกษา, (9-20). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มนตรี อินตา. (2562). SOFT SKILLS : ทักษะที่จำเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), 153-167.

มานิตา ลีโทชวลิต. (2553). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาครูปฐมวัยในโรงเรียนรวม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การถอดบทเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การสอนแบบ Research-Based Teaching ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2551). การประชุมวิชาการประจำปีเรื่องจิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ : โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา.

สุวัฒนา จิตต์รัตนอรุณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ. (2551). หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2562). แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการหอพักสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

Fosnot, C.F. (1996). Constructivism : Theory, Perspectives And Practice. New York : Teacher College Press.

Hartman, A.J. (1995). Project wort : Supporting children : Supprting chidren’s need for children Education lnternational. 7(3) : 93

Kolb, D.A. (1984). Organizational Psychology : A Book of Readings. 4th ed. Englewood Cliffs, NJ : Prentice – Hall

Robles, M. M. (2012). Executive perceptions of the top 10 soft skills needed in today’s workplace. Business Communication Quarterly, 75(4), 453-465.

Thorpe, S., & Clifford, J. (2003). Coaching handbook: An action kit for trainers & manager. London: Kohan Page.