ผลของการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเคมีเพื่ออุตสาหกรรม

Main Article Content

ปรินุช ชุมแก้ว
บุญฤทธิ์ ชูประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนแบบทีมเป็นฐานและการเรียนแบบบรรยาย 2) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียนในขณะเรียนด้วยการจัดการเรียนรูปแบบทีมเป็นฐาน 3 )ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรูปแบบทีมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเคมีเพื่ออุตสาหกรรมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาพฤกษศาสตร์และพฤกษเคมี จํานวน 64 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และแบบประเมินความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบทีมเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ค่าเฉลี่ย=74.07) สูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรูปแบบบรรยาย (ค่าเฉลี่ย=62.49) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานมีพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันขณะเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานอยู่ในระดับมาก 3) นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกพร ดวงสุวรรณ. (2662). ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี (DLIT : Google Classroom) และการใช้เทคนิคการเรียนรู้เป็นทีมเสริมด้วยบทบาทสมมติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1, 1676-1685.

กนกพร วงศ์น่าน. (2553). ประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบกิจกรรมในการทำงานกลุ่ม รายวิชา วย. 4205 การบริหารงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (รายงานวิจัยในชั้นเรียน). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และศศิธร ชิดนายี. (2552). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบทีมในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดอย่างมีวิจารณญาณของ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 32-40.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารทิพย์ พจน์สุภาพ. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม : สภาพปัญหา ระดับการมีส่วนร่วม และผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 10(1), 36-46.

สินีภรณ์ วัฒนจินดา จิตรกร ผดุง และมนต์ชัย น้อยคำสิน. (2560). ผลของการจัดการเรียนแบบทีมเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 7(13), 27-32.

สิรินาถ จงกลกลาง. (2551). รูปแบบการสอน Team based Learning. วารสารวิชาการสีมาจารย, 21, 4386-4391.

อมรวิชช นาครทรรพ. (2543). แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยคุณภาพและการประกันคุณภาพในวิถีทรรศน์การปฏิรูปอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Brogan, D. R. & Kutner, M. H. (2012). Comparative Analyses of Pretest-Posttest Research Designs. The American Statistician, 34(4), 229-232.

Letassy, N. A., Fugate, S. E., Medina, M. S., Stroup, J. S., & Britton, M. L. (2008). Using Team-Based Learning in An Endocrine Module Taught Across Two Campuses. American Journal of Pharmaceutical Education, 72(5), 103-108.

Levine, R. E., O'Boyle M., Haidet, P., Lynn, D. J., Stone, M. M., Wolf, D. V., & Paniagua, F. A. (2004). Transforming A Clinical Clerkship with Team Learning. Teaching and Learning in Medicine, 16(3), 270-275.

Mcinerney, M. J. & Fink, L. D. (2003). Team-Based Learning Enhances Long-Term Retention and Critical Thinking in An Undergraduate Microbial Physiology Course. Microbiology Education, 4, 3-12.

Michaelsen, L. K., Knight, A. B., & Fink, L. D. (2004). Team-based learning: A transformative use of small group in college teaching (1st ed). Sterling VA: Stylus Publishing.

Ministry of Education. (2003). National Education Act B.E. 2542. Bangkok: Organization of Transfer Products and Packaging Press. [in Thai]

Pansawat, M. & Inchaithep, S. (2015). The Effectiveness of Team-Based Learning on Learning Achievement, Critical Thinking, Teamwork Skill and Self-Directed Learning Readiness of Student Nurses, Journal of Nursing, 16(2), 92-102. [in Thai]

Phumpuang, K. & Sittiwong, T. (2018). The Development of Flipped Classroom Learning Activities with Collaborative Learning Approach for Undergraduate Students. Journal of Education Naresuan University, 20(2), 1-11. [in Thai]

Srisa-ard, B. (1996). An Instrument Used to Collect Data of Rating Scale. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 2(1), 64-70. [in Thai]

Wiener, H., Plass, H., & Marz, R. (2009). Team-Based Learning in Intensive Course Format for First-Year Medical Student. Croatian Medical Journal, 50, 69-76.

Vasan, N. S., DeFouw, D. O., & Holland, B. K. (2008). Modified Use of Team-Based Learning for Effective Delivery of Medical Gross Anatomy and Embryology. Anatomical Sciences Education, 1(1), 3-9.