โรงเรียนคือฐานการพัฒนาวิชาชีพครูโดยชุมชนแห่งการเรียนรู้: การพัฒนารูปแบบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

Main Article Content

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) ประเมินผลการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มวิจัยเป็นเครือข่าย โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล” ที่จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดพังงาที่มีครูทั้งโรงเรียน จำนวน 99 คน เข้าร่วมพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสำรวจความเข้าใจของครูต่อการดำเนิน PLC 2) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 3) แบบประเมินความคิดเห็นของครูต่อการใช้กระบวนการ PLC ผลวิจัยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงสถิติ ซึ่งพบว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกรณีศึกษานี้มีกระบวนการสรุปได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนที่ต้องการให้ชัดเจน 2) ส่งเสริมและสร้างโอกาสการพัฒนาวิชาชีพให้กับครูทุกท่าน 3) สร้างบรรยากาศการทำงานและการเรียนรู้แบบองค์กรร่วมมือ 4) เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการบริหารจัดการและการเรียนรู้ขององค์กร 5) สร้างผู้นำวิชาการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครูในโรงเรียนเกิดการยอมรับซึ่งกันและกันในด้านความรู้ ประสบการณ์ และการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะการร่วมทำงานกับองค์กรอื่นที่สามารถเข้ามาเติมเต็มในฐานะผู้เชี่ยวชาญตามบริบทจริงของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)