กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุค 4.0 ของธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ระยะเวลาในการดำเนินการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุค 4.0 ของธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดนนทบุรี ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลมี 2 ส่วนคือ1.แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด 2. แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก 6 ร้าน สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1)ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)2) เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) 3) เชิงคุณภาพ (Qualitative)t-test และ4) One-way ANOVA จากผลการวิจัยเชิงปริมาณ ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า การจัดเรียงสินค้าให้เป็นหมวดหมู่สวยงามเป็นอันดับแรก ด้านราคาควรตั้งราคาให้สมเหตุสมผลและไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าราคาสินค้านั้นแพงเกินกว่าคุณภาพของสินค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในอันดับแรกพบว่ามีระบบการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นมากขึ้น และด้านการส่งเสริมการตลาดพบว่าอันดับแรกมีการเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลที่ส่งเสริมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกจำนวน 6 ร้าน พบว่า มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อโดยได้เพิ่มผลิตภัณฑ์หมวดเครื่องสำอางสำหรับสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษเพื่อให้เกิดทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น ส่วนด้านราคา มีราคาที่หลากหลายโดยเน้นราคาต่ำ และปานกลางเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างกว่าเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่โดนผลกระทบจากการตกงานโรคระบาดโควิด 19 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่าการขยายช่องทางการขายโดยผ่านสื่อออนไลน์ และการสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง ใช้จ่ายได้ง่ายและสะดวกต่อการสั่งสินค้า ด้านการส่งเสริมการตลาดมีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์สำหรับลูกค้าที่อยู่ในชุมชน ส่วนนโยบายด้านภาครัฐที่ให้การสนับสนุนและพัฒนาตลาด พบว่าภาครัฐได้ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการจัดทำบัญชีร้านค้า การให้ความรู้เรื่องภาษีอากร และด้านการทำการตลาดแก่ร้านค้าปลีก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-12-28 (3)
- 2022-06-30 (2)
- 2022-06-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว