https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/issue/feed วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม 2023-12-19T09:29:54+07:00 ดร.พรศิริ กองนวล [email protected] Open Journal Systems <p><span lang="TH">วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม เริ่มจัดทำขึ้น ในปี พ.ศ.2537 โดยศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปและเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยต่อมาในปี พ.ศ.2547ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีจึงตั้งเป็นสถาบันวิจัยละพัฒนาโดยมีการตีพิมพ์เป็นภาษาไทยปีละ 2 ฉบับ ปัจจุบันวารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคมเป็นฉบับที่ 22 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของรูปเล่มรูปแบบการเขียน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของวารสารโดยทั่วไปและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเข้มแข็งโดยมุ่งเน้นบทความวิจัยที่พัฒนาชุมชนท้องถิ่น</span><span lang="TH"> </span></p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/261966 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2023-11-06T15:35:21+07:00 เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และ ค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวางแผน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการฝึกอบรม ด้านการสรรหา ด้านการธำรงรักษา ด้านการบริหารค่าตอบแทน และด้านการบรรจุแต่งตั้ง (2) การเปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/262152 นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสุขในชีวิตสมรส 2023-12-06T15:38:43+07:00 อภิญญา ศรีขาว [email protected] เพ็ญนภา กุลนภาดล [email protected] ประชา อินัง [email protected] <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คู่สมรสที่อย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นข้าราชการทหารบก โดยใช้ชีวิตสมรสร่วมกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 1 มณฑลทหารบกที่ 14 อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คู่สมรส ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสุขในชีวิตสมรส และนวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสุขในชีวิตสมรส มีจำนวน 8 ครั้ง ครั้งที่ 1-2 และ ครั้งที่ 7-8 ใช้เวลา&nbsp; 90 นาที ในการปรึกษาออนไลน์ ครั้งที่ 3-6 เป็นการปรึกษาแบบพบหน้า ใช้เวลาครั้งละ 180 นาที แบ่งออกเป็นการปรึกษาโดยใช้เทคนิคการปรึกษาเชิงบูรณาการ 90 นาทีและกิจกรรมการฝึกอบรม 90 นาที และผลการใช้นวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการ พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการมีคะแนนความสุขในชีวิตสมรสในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการมีคะแนนความสุขในชีวิตสมรสในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/262886 ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยและความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย 2023-10-20T13:59:45+07:00 จีรภัทร อาดนารี [email protected] นงเยาว์ อุทุมพร [email protected] ปรีชา ธนะวิบูลย์ [email protected] <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การฟัง การดูและการพูดสำหรับครูภาษาไทย (1023101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.36-0.73 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.26-0.79 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีค่าเท่ากับ 0.86 สำหรับข้อสอบที่เป็นอัตนัย จำนวน&nbsp;5 ข้อมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.40-0.65 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.32-0.80 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอัตนัยทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 0.77 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.25-0.56 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.26-0.69 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีค่าเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01&nbsp;2) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>&nbsp;</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/264808 การคิดเชิงออกแบบบนฐานทุนชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนา สัมมาชีพที่ยั่งยืน 2023-10-20T14:27:30+07:00 ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด [email protected] <p>การวิจัยมุ่งวิเคราะห์ทุนชุมชนเมืองด้วยการคิดเชิงออกแบบที่มีฐาน 3 ห่วงความรู้จากการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อการพัฒนาสัมมาชีพให้ครัวเรือนรายได้น้อยในชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน จำนวน 30 คน ด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มย่อย การจัดบริการวิชาการแก่สังคม วิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า การเข้าใจเข้าถึง (Empathize) ชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม เป็นชุมชนเมืองที่มีลักษณะแบบ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน การอยู่ร่วมกันของประชาชนมีต้นทุนวิถีชีวิตอยู่เกื้อกูลกันมานานกว่า 191 ปี จึงนิยาม (Define) ชัดว่าผู้คนมีวิถีชีวิตคนเมืองทั่วไปต้องตื่นเช้ากลับบ้านมืด ระหว่างวันมีกลุ่มผู้หญิงเป็นผู้นำรับภาระหน้าที่หลักในการพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นจิตอาสาและเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว คนว่างงาน เกษียณอายุเป็นแม่บ้าน แต่มีพลังในการทำงานแต่ไม่มีงานทำสร้างรายได้ สู่การระดมความคิด (Ideate) ความรู้จากการเรียนการสอนในศาสตร์การพัฒนาสัมมาชีพ ผสมการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผสานการบริการวิชาการแก่สังคมที่เป็นยุทธศาสตร์ราชภัฏพัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างตัวแบบ (Prototype) ที่ผลิตภัณฑ์ขนมไทยใบตอง และน้ำพริกมะขามอ่อนผัด ที่นำไปสู่การทดลอง (Test) ทำและจำหน่ายในชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม การสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มออกแบบโลโก้เรื่องเล่าอัตลักษณ์ชุมชน ถอดบทเรียน (After action review) ในการสร้างกระบวนการสัมมาชีพในการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/266840 ทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเอง ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลจากสองสถาบันการศึกษา: การศึกษานำร่อง 2023-12-19T09:29:54+07:00 ชนานันท์ โพธิ์ขวาง [email protected] อติญาณ์ ศรเกษตริน [email protected] เบญจวรรณ งามวงศ์วิวัฒน์ [email protected] ทิพวัลย์ พราหมณ์น้อย [email protected] <p style="font-weight: 400;"><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p style="font-weight: 400;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาระดับคะแนนของทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเอง ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย พฤติกรรมและวิธีการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับตัวแปรเหล่านี้ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 493 คน จากสองสถาบันการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมและวิธีการควบคุมน้ำหนัก ความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายในการควบคุมน้ำหนัก (ค่าความเชื่อมั่น =.73) และทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเอง (ค่าความเชื่อมั่น =.936) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนระหว่างกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติ T-test, ANOVA และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนรวมของตัวแปรต่อเนื่องด้วย Pearson’ product moment correlation coefficient (r) และ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมาตรอันดับและมาตรนามบัญญัติด้วย Chi-square &nbsp;</p> <p><span style="font-weight: 400;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีคะแนนความรู้ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมน้ำหนัก ในระดับต่ำ (total score = 8; mean = 3.87; SD=2.18) มีทัศนคติต่อรูปลักษณ์ตนเองในระดับปานกลาง (total score 55; mean 38.46 =; SD=8.65) มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายในระดับพอใช้ (total score= 25; mean= </span><span style="font-weight: 400;">14.75</span><span style="font-weight: 400;">; SD=2.56)&nbsp; และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมความพยายามที่จะควบคุมน้ำหนัก (n=232; ร้อยละ 47.5</span><span style="font-weight: 400;">) </span><span style="font-weight: 400;">มีค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย </span><span style="font-weight: 400;">(BMI) =21.84 (SD=4.16) </span><span style="font-weight: 400;">โดย</span> <span style="font-weight: 400;">BMI </span><span style="font-weight: 400;">มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับทัศนคติต่อรูปลักษณ์ของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><span style="font-weight: 400;">r= -.</span><span style="font-weight: 400;">171</span><span style="font-weight: 400;">, p&lt;.</span><span style="font-weight: 400;">001) ระดับ </span><span style="font-weight: 400;">BMI มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความพยายามที่จะควบคุมน้ำหนัก </span><span style="font-weight: 400;">(</span><span style="font-weight: 400;">χ</span><span style="font-weight: 400;">²(9) = 143.86, p = &lt;.001, Cramér’s V = 0.31</span><span style="font-weight: 400;">) </span><span style="font-weight: 400;">กลุ่มที่มีความพยายามควบคุมน้ำหนักที่แตกต่างกันมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย</span><span style="font-weight: 400;"> (F (3,483) = 2.63, p =.049) </span><span style="font-weight: 400;">ทัศนคติต่อรูปลักษณ์ </span><span style="font-weight: 400;">(F (3,483)= 3.39, P =.018) แตกต่างกัน สถาบันการศึกษาพยาบาลควรให้ความรู้และจัดโปรแกรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพดีและการควบคุมน้ำหนัก พร้อมกับส่งเสริมทัศนคติต่อรูปลักษณ์ที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาพยาบาล</span></p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี