กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุค 4.0 ของธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ทัศนา หงษ์มา -

คำสำคัญ:

ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ระยะเวลาในการดำเนินการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุค 4.0 ของธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็กในจังหวัดนนทบุรี ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลมี 2 ส่วนคือ1.แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด  2. แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก 6 ร้าน สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1)ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)2) เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) 3) เชิงคุณภาพ (Qualitative)t-test และ4) One-way ANOVA จากผลการวิจัยเชิงปริมาณ ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า การจัดเรียงสินค้าให้เป็นหมวดหมู่สวยงามเป็นอันดับแรก ด้านราคาควรตั้งราคาให้สมเหตุสมผลและไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าราคาสินค้านั้นแพงเกินกว่าคุณภาพของสินค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในอันดับแรกพบว่ามีระบบการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นมากขึ้น และด้านการส่งเสริมการตลาดพบว่าอันดับแรกมีการเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลที่ส่งเสริมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกจำนวน 6 ร้าน พบว่า มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อโดยได้เพิ่มผลิตภัณฑ์หมวดเครื่องสำอางสำหรับสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษเพื่อให้เกิดทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น ส่วนด้านราคา มีราคาที่หลากหลายโดยเน้นราคาต่ำ และปานกลางเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างกว่าเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่โดนผลกระทบจากการตกงานโรคระบาดโควิด 19 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่าการขยายช่องทางการขายโดยผ่านสื่อออนไลน์ และการสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง ใช้จ่ายได้ง่ายและสะดวกต่อการสั่งสินค้า ด้านการส่งเสริมการตลาดมีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์สำหรับลูกค้าที่อยู่ในชุมชน ส่วนนโยบายด้านภาครัฐที่ให้การสนับสนุนและพัฒนาตลาด พบว่าภาครัฐได้ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการจัดทำบัญชีร้านค้า การให้ความรู้เรื่องภาษีอากร และด้านการทำการตลาดแก่ร้านค้าปลีก

References

ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร. (2555). ประสบการณ์วิชาชีพการตลาด. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชยากร โกศลธนากุล. (2552). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมการค้าปลีกของห้างหุ้นส่วนจำากัด เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐายิกา กสิวิทย์อำนวย. (2561). การบริหารธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณฐพร ซาภักดี. (2554). การวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มลูกค้า ร้านค้าปลีก ป. พาณิชย์อำเภอปากชม จังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เทียนทอง จันทร์วิไลนคร. (2551). สภาพและปัญหาทางการตลาดร้านค้าปลีกประเภทสะดวกซื้อในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดตาก. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

นิกร ตังควัฒนา. (2552). การปรับตัวของร้านค้าปลีกในชุมชนวัดศรีประดู่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เรืองรอง นันติ. (2554). แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็กในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วารุณี ตันติวงศ์วาณิช. (2558). ธุรกิจการค้าปลีก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วุธพงศ์ ลาภเจริญ และสันธยา ดารารัตน์. (2551). การตลาดค้าปลีก. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business

สักกรินทร์ ทองคุ้ม. (2553). ความอยู่รอดของธุรกิจค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิมภายใต้สภาวะสถานประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2562). การค้าปลีก การค้าส่ง และการค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก https://webportal.bangkok.go.th.

สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี. (2560). นนทบุรีเมืองธุรกิจใหม่เมืองศักยภาพสูง. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, จาก https: //propholic.com/prop-talk/business-nonthaburi.

Philip Kotler & Gary Armstrong. (2008). Principles of Marketing. (12 th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-12-28

Versions