วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI <p><span lang="TH">วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม เริ่มจัดทำขึ้น ในปี พ.ศ.2537 โดยศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปและเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยต่อมาในปี พ.ศ.2547ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีจึงตั้งเป็นสถาบันวิจัยละพัฒนาโดยมีการตีพิมพ์เป็นภาษาไทยปีละ 2 ฉบับ ปัจจุบันวารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคมเป็นฉบับที่ 22 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของรูปเล่มรูปแบบการเขียน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของวารสารโดยทั่วไปและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเข้มแข็งโดยมุ่งเน้นบทความวิจัยที่พัฒนาชุมชนท้องถิ่น</span><span lang="TH"> </span></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> journal.rdi@dru.ac.th (ดร.พรศิริ กองนวล) journal.rdi@dru.ac.th (ว่าที่ร้อยตรี จิรโรจน์ ธรรมสโรช) Wed, 11 Dec 2024 10:37:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/270746 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน (2) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน และศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน ตัวอย่างได้แก่ ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนกุฎีจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดคุณสมบัติให้จบการศึกษาขั้นต่ำในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ชุดฝึกอบรมซึ่งมีบทเรียนการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน และแบบประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงสูงกว่าปริญญาตรี มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับปานกลางและควรปรับปรุง และชุดฝึกอบรมสร้างขึ้นจากความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนโดยการรวบรวมเป็นชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 5 หน่วย จากการใช้ชุดฝึกอบรม “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อการภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน” พบว่าตัวอย่างได้คะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.60 และได้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.83 เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ t-test มีค่าเท่ากับ 21.39 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีนมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรม “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อการภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนกุฎีจีน” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านภาษา ด้านกิจกรรมการฝึกฝนการใช้ภาษา ด้านการออกแบบ และด้านการใช้ประโยชน์ ตัวอย่างมีความเห็นต่อชุดสื่อการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 4.30)</p> ปัทมา ยิ้มสกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/270746 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/271996 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และวิทยฐานะ งานวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่างข้าราชการครู กลุ่มโรงเรียนบ้านค่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 127 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br />1. ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านความยืดหยุ่น ด้านวิสัยทัศน์ และด้านจินตนาการ มีระดับความคิดเห็นมาก <br />2. ครูที่มีระดับการศึกษา ขนาดของสถานศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และวิทยฐานะ ต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบ้านค่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ลลิตา เตชะทรัพย์สกุล, นิวัตต์ น้อยมณี, กัญภร เอี่ยมพญา Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/271996 Mon, 16 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนตากสิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/272072 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนตากสิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2) เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนตากสิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์ การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนตากสิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ในปีการศึกษา 2566 โดยกำหนดขนาดตัวอย่างจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 144 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสัดส่วนของประชากรกับกลุ่มตัวอย่างของแต่ละโรงเรียน แล้วสุ่มอย่างง่าย เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ระบุ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามแบบให้คะแนน 5 ระดับ มีความน่าเชื่อถือทั้งฉบับอยู่ที่ระดับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปวนแบบทางเดียว</p> กฤตวัฒน์ เทียนสวัสดิ์, นิวัตต์ น้อยมณี, กัญภร เอี่ยมพญา Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/272072 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การยกระดับเกษตรกรรายย่อยสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำในพื้นที่ จังหวัดสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/272592 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงเป็ดปากน้ำของเกษตรกรรายย่อย สู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษาการยกระดับช่องทางการตลาดสำหรับการเลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์และด้านการทำตลาดดิจิทัล และ3) เพื่อออกแบบระบบและกลไกพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบแบบผสมวิธีสู่การปฏิบัติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำ จำนวน 77 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาเชิงคุณภาพ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามพบว่า 1) ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 60 ปี มีรายได้ ในรอบปีที่ผ่านมา จำนวน 200,001- 400,000 บาท ประสบการณ์ในการเลี้ยงเป็ดไข่ 1-5 ปี เป็นทุนส่วนตัว โรงเลี้ยงเป็นรั้วตะแกรงหรือตาข่าย พื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่จำนวน 1-3 ไร่ จำนวนเป็ดไข่ที่เลี้ยงน้อยกว่า 60 ตัว ใช้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับอาหารผสมเอง ค่าใช้จ่ายหลักในการเลี้ยงเป็นเป็นค่าอาหารและแรงงาน ยังไม่เคยเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ปัญหาราคาไข่เป็ดไม่แน่นอน และผู้เลี้ยงเป็ดไข่มีความคิดเห็นต่อการค้าการขายเป็ดไข่เชิงพาณิชย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.26,= 0.69) 2) การยกระดับช่องทางการตลาดพบว่า พัฒนาการเลี้ยงเป็ดไข่ที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ การมีแหล่งที่เอื้อต่อการเลี้ยงเป็ดไข่เชิงพาณิชย์ และการยกระดับการเลี้ยงเป็ดไข่ตลาดดิจิทัลพบว่า การมีสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเข้าสู่ตลาด การมีรูปแบบหรือวิธีสื่อสารใหม่ในการเข้าสู่ตลาดดิจิทัล และ3) ระบบและกลไกพัฒนาผู้เลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำสู่การค้าการขายเชิงพาณิชย์พบว่า การมีพิมพ์เขียวการเลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำเชิงธุรกิจ ได้แก่ หลักประกัน ความมั่นคงของกลุ่มหรือสมาชิก และหลักประกันสุขภาพของกลุ่มหรือสมาชิก รวมทั้งการมีโมเดลยกระดับ การเลี้ยงเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำเชิงพาณิชย์ด้านตลาดดิจิทัล</p> ธัชกร ภัทรพันปี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/272592 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบบริการทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย NCDs ศูนย์บริการสาธารณสุข สวนหลวง ร.9 จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/272720 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบบริการทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย NCDs ศูนย์บริการสาธารณสุข สวนหลวง ร.9 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) เวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 245 คน 2) ผู้บริหาร จำนวน 1 คน 3) เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการผู้ป่วย NCDs จำนวน 3 คน และ 4) ผู้ป่วย NCDs จำนวน 8 คน รวมทั้งหมด 257 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วย แบบสังเกตการณ์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความ พึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์การให้บริการทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย NCDs พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 33.06 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 66.93 ระดับน้ำตาล มากกว่า 126 mg/dl ร้อยละ 39 และความดันโลหิต ระดับ SBP 130 – 179 mmHg, DBP 85 – 109 mmHg ร้อยละ 45&nbsp; รูปแบบบริการสุขภาพ ประกอบด้วย การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน และการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การประสานผู้รับบริการก่อนล่วงหน้า 1 วัน กรณีที่ผู้ป่วยมารับบริการไม่ได้ อสม.จะให้บริการที่บ้าน มีการค้นหาบัตรผู้รับบริการล่วงหน้า ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการส่งเจาะ DTX ให้คำแนะนำและส่งพบแพทย์ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองและคำแนะนำพร้อมส่งพบแพทย์ ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการหลังพัฒนารูปแบบการบริการ อยู่ในระดับมาก (mean=40.75, SD=9.136) ความรู้สึกต่อการเข้ารับบริการของผู้ป่วยกลุ่ม NCDs คือ พอใจมากเนื่องจากเจ้าหน้าที่ให้บริการดีขึ้น มีขั้นตอนชัดเจน ไม่รอนาน ชักประวัติและรอตรวจรวดเร็ว ให้คำแนะนำเข้าใจชัดเจน และมี อสม ไปให้บริการเจาะ DTX และวัดความดันโลหิตที่บ้าน</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong> การพัฒนารูปแบบ บริการทางคลินิก ผู้ป่วย NCDs</p> อัตถิยา นวนหนู, สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/272720 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 การทดลองการใช้เทคนิคการใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาการเขียนเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/273056 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยเสริมคุณภาพการเขียนเล่าเรื่อง และเพื่อทราบข้อจํากัดในความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ โดยการศึกษาแบบทดลองด้วยการเขียนเรื่องสั้น ‘ชายชรากับแม่น้ำ’ และปรึกษาปปัญญาประดิษฐ์ไปพร้อมกัน จนเรื่องเล่านี้เสร็จสมบูรณ์</p> <p>ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ปัญญาประดิษฐ์ 3 แพลตฟอร์ม (platform) ได้แก่ ChatGPT, Copilot และ Monica เครื่องมือสำหรับการวิจัย คือ ปัญญาประดิษฐ์ทั้ง 3 แพลตฟอร์มดังกล่าว นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสดงความสามารถในการตอบคำถามเกี่ยวกับการเขียน การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการบันทึกคำถาม-คำตอบในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทั้ง 3 แพลตฟอร์ม ในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษและคำแนะนำการเขียนเรื่องสั้น (short story) เปรียบเทียบกัน และ วิเคราะห์ว่า คำตอบของปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยให้การเขียนเรื่องสั้นมีคุณภาพตามวิชาการการเขียนหรือไม่ และมีปัญหาในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างไร</p> <p>สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการใช้ภาษาอังกฤษในเรื่อง คำศัพท์ การสะกดคำให้ถูก การเขียนประโยคและวลี (phrase) ให้ถูกหลักไวยากรณ์ และธรรมเนียมการใช้ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา ทั้งสามารถแนะนำเทคนิคการเขียนเรื่องสั้นให้มีคุณภาพรวมทั้งข้อพิจารณาการตรวจคุณภาพงานเขียนเรื่องสั้น ส่วนข้อจำกัดของความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ได้แก่ ตอบคำถามไม่ถูกต้องในบางกรณี และไม่สามารถทราบเรื่องที่เป็นวัฒนธรรมและประเพณีไทยบางเรื่อง ทำให้แนะนำผิดทาง และข้อที่พึงระวังคือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ให้ช่วยทำงานแทนมนุษย์มากเกินไป ทำให้ความสามารถของมนุษย์เสียไป</p> ศิรดา เทียนขาว Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/273056 Mon, 16 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดเชิงพุทธของพนักงานดูแลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/270605 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของพนักงานดูแลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 2) เพื่อสร้างโปรแกรมการจัดการความเครียดเชิงพุทธของพนักงานดูแลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการจัดการความเครียดเชิงพุทธของพนักงานดูแลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบประเมินระดับความเครียดของกรมสุขภาพจิต (SPST-20) และโปรแกรมการจัดการความเครียดเชิงพุทธที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้คะแนน 0.96 แปลว่าเหมาะสม ประชากรศึกษาคือพนักงานดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 59 คน นำผู้ที่มีความเครียดในระดับสูง 20 คน และเครียดในระดับรุนแรง 6 คน รวม 26 คน และทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้มา จำนวน 14 คน เข้ากลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลักการทดลอง และการติดตามผลหลังการทดลองผ่านไปแล้ว 1 เดือน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เนื้อหา และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเครียดของพนักงานดูแลผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 41.14 2) ผลการสร้างโปรแกรมการจัดการความเครียดเชิงพุทธ ประกอบไปด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) เมื่อฉันและเธอมาเจอกัน 2) Finding to Heart 3) สายน้ำแห่งชีวิต 4) ปรับเข็มทิศชีวิตไม่เครียด 5) ชาภาวนา 6) พบธรรมนำใจ 7) อยู่อย่างไรให้มีความสุข และ8) ลมหายใจสลายเครียด ได้คะแนนความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 0.96 3) ผลจากการทดลองตามโปรแกรมการจัดการความเครียดเชิงพุทธหลังการทดลองความเครียดของพนักงานดูแลผู้สูงอายุลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าพนักงานดูแลผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น เข้าใจถึงสภาะวะอารมณ์และเกิดการมีสติ มีสมาธิ มีความเมตตา เข้าใจถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกิดความคิดเชิงบวกและเกิดการพัฒนาตนเองในการทำงานและสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ดี</p> สัญญา ปัญญา, ประสิทธิ์ แก้วศรี, พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/270605 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทผู้นำกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/273538 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 15 คนได้แก่ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญด้านการบริหารจัดการจาก ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และตัวแทนชุมชน เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) และแบบสโนว์บอลล์ (snowball sampling) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่าผู้นำโดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง การศึกษาอยู่ในระดับปริญาตรีเป็นส่วนใหญ่ผู้นำมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการที่นำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในการบ่งชี้ความรู้, การสร้างและแสวงหาความรู้, การจัดความรู้ให้เป็นระบบ,การประมวลและกลั่นกรองความรู้,การเข้าถึงความรู้, การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้, Bone (1992, p. 579-583) การทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน และพบว่าปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จด้านการบริหารจัดการได้แก่ปัจจัยด้านพื้นที่เชิงสร้างสรรค์(Creative space) ที่มีบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ปัจจัยด้านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative spectacles) และปัจจัยด้านกลุ่มผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (Creative cluster) (UNESCO ,1978, p. 38) ทั้งนี้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายด้าน เช่น ร้อง รำ ทำ โชว์บนพื้นฐานความหลายหลายของสินค้าที่มีคุณภาพจากชุมชนในพื้นที่ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนให้มีความรู้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม ระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และคนในชุมชนร่วมกันวางแผนพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ เกิดการกระจายรายได้จากพื้นที่ธรรมดาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์</p> กัณญพัตส บุญล่ำ, อังคณา อุดมพันธ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/273538 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700