วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI
<p><span lang="TH">วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม เริ่มจัดทำขึ้น ในปี พ.ศ.2537 โดยศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปและเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยต่อมาในปี พ.ศ.2547ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีจึงตั้งเป็นสถาบันวิจัยละพัฒนาโดยมีการตีพิมพ์เป็นภาษาไทยปีละ 2 ฉบับ ปัจจุบันวารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคมเป็นฉบับที่ 22 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของรูปเล่มรูปแบบการเขียน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของวารสารโดยทั่วไปและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเข้มแข็งโดยมุ่งเน้นบทความวิจัยที่พัฒนาชุมชนท้องถิ่น</span><span lang="TH"> </span></p>
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
th-TH
วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม
2697-3944
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
การทดสอบประสิทธิภาพชุดเสริมสร้างความตระหนัก ในการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/268853
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกัน การตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อหาคุณภาพชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกัน การตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมชั้นศึกษาตอนต้น และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพ ชุดการสอน คู่มือวัยรุ่นยุคดิจิทัล รู้ทันเรื่องเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้มาโดยวิธีการสุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม 16 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คนโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติพื้นฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า จากการหาประสิทธิภาพของชุดเสริมสร้างเท่ากับ 87.85/92.01 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นหลังเรียนด้วยชุดเสริมสร้างนี้ ผลการประเมินคุณภาพด้านประสิทธิภาพทางการสอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.53 อยู่ในระดับดีมาก ด้านคู่มือคู่มือวัยรุ่นยุคดิจิทัล รู้ทันเรื่องเพศมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 อยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังด้วยชุดเสริมสร้างความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
สุมณฑา โพธิบุตร
อัญชลี จิตราภิรมย์
ศิมาภรณ์ พวงสุวรรณ
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
10 1
1
12
-
การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/267615
<p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้เพื่อ 1) การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) การติดตามผลการพัฒนาและ 3) เผยแพร่การพัฒนาดังกล่าว กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรในชุมชนบ้านช้าง ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความสมัครใจ จำนวน 30 คน พบว่า การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งในกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการนั้น มีการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยการสนทนากลุ่ม รวมกลุ่ม และการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโรงเรือนเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง สำหรับประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ผลการติดตามการพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน พบว่า เกษตรกรในชุมชนบ้านช้าง จำนวน 30 คน จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเกิดการจัดตั้งกลุ่มและรวมกลุ่มกันสร้างโรงเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง ทำให้มีรายได้เสริมต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และการเผยแพร่การพัฒนากลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานชุมชนบ้านช้าง สามารถขยายผลไปยังเกษตรกรรายอื่นที่ความสนใจในการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน</p>
กนกนาฏ พรหมนคร
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
10 1
13
27
-
การพัฒนาน้ำสลัดและแซนวิชสเปรด โดยใช้น้ำส้มสายชูหมักจากกล้วยน้ำว้า
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/269043
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการหมักน้ำส้มสายชูจากกล้วยน้ำว้าที่เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสลัดและแซนวิชสเปรดที่ใช้น้ำส้มสายชูกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนผสม 3) ศึกษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนและผู้สนใจทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า ส่วนผสมสำหรับหมักเอทิลแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม ประกอบด้วย เนื้อกล้วยสุกงอมสับละเอียด 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 4 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม กรดซิตริก 10 กรัม ยีสต์ผงสำหรับหมักไวน์ทางการค้า 1.25–1.5 กรัม หมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 9 วัน จะได้ความเข้มข้นเอทิลแอลกอฮอล์ 10.2% และส่วนผสมสำหรับหมักน้ำส้มสายชูในถาดประกอบด้วย เนื้อกล้วยสุกสับละเอียดผสมน้ำที่อัตราส่วน 1:4 ปริมาณ 600 มิลลิลิตร หัวเชื้อน้ำส้มสายชู 100 มิลลิลิตร และน้ำหมักแอลกอฮอล์จากกล้วย 1,300 มิลลิลิตร หมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 7 วัน ได้น้ำส้มสายชูกล้วยน้ำว้าที่มีปริมาณกรดอะซิติกโดยเฉลี่ย 5.05% ผลิตภัณฑ์น้ำสลัดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย น้ำส้มสายชูจากกล้วย 75 กรัม น้ำตาลทราย 80 กรัม เกลือป่น 5 กรัม พริกไทยป่น 3 กรัม มัสตาร์ด 5 กรัม ไข่แดง 2 ฟอง และน้ำมันถั่วเหลือง 225 กรัม ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมในระดับชอบมาก (7.75 ± 0.63) และผลิตภัณฑ์แซนวิชสเปรด ประกอบด้วย น้ำสลัด ร้อยละ 82 แตงกวาดอง ร้อยละ 13 และแครอทดอง ร้อยละ 5 ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมในระดับชอบปานกลาง (7.46 ± 0.84) ผลการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ พบว่า ทั้งสองผลิตภัณฑ์มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน การดำเนินงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต มีผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการการจัดอบรมในระดับมากที่สุด (4.70 ± 0.47)</p>
นวลระหง เทพวิวัฒน์จิต
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
10 1
43
58
-
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และเทคโนโลยี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/268674
<p>การวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดธุรกิจเชิงสร้างสรรค์และเทคโนโลยีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดธุรกิจ<br>เชิงสร้างสรรค์และเทคโนโลยี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ซึ่งผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ที่สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 400 ราย และข้อมูลเชิงคุณภาพได้รับจากการสัมภาษณ์กลุ่มเจ้าของสถานประกอบการหรือผู้บริหารในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิง และนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิง จำนวน 4 ราย และผู้บริหารคณะดุริยางคศาสตร์ 4 รายจากผลการศึกษาทั้งในมิติของเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สรุปได้ว่า มีความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตร เนื่องจากความคิดเห็นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบันเทิงและผู้ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 85 มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเล็งเห็นความพร้อมในการจัดการสอนในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และเสนอให้มีรายวิชาที่ควรมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับ การบ่มเพาะนวัตกรรม กลยุทธ์การบริหารธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ นวัตกรรมสุนทรียฤทธิ์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สัมมนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วิทยาการวิจัยขั้นสูงเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการศึกษาดูงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรม และสุนทรียฤทธิ์</p>
นุกูล แดงภูมี
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
10 1
59
72
-
ผลของโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยที่พักรักษาตัว ในโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/269059
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi-experimental design one group) แบบ 1 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยสามัญ ๒ จำนวน 52 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและหยิบฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และโปรแกรมการป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็ง สุราษฎร์ธานี ผ่านการหาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา (content validity index: CVI) เท่ากับ 0.97, 0.88, 0.87 และ 0.87 ตามลำดับ ส่วนค่าความเที่ยงตรงของการวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach′s Alpha Coefficient) ของแบบประเมินความรู้และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ได้ค่า Reliability เท่ากับ 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังได้รับโปแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนทดลองกับหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.01 ซึ่งหลังทดลอง (mean=59.884, SD=3.221) กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้สูงกว่าก่อนทดลอง (mean=47.846, SD=10.677) และค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม พบว่าก่อนทดลองและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.01</p>
อัญญารัตน์ มุสิกะ
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
10 1
73
84
-
รายงานการวิจัยติดตามและประเมินคุณลักษณะผู้เรียนตามกรอบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติระดับปฐมวัย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/265708
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณลักษณะผู้เรียนตามกรอบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 2) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 และ3) นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 มีการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อประเมินคุณลักษณะผู้เรียนและศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครู/คณาจารย์ 540 คน ผู้บริหาร 190 คน กรรมการสถานศึกษา 190 คน ผู้ปกครอง 340 คนรวม 1,260 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ สำหรับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อประเมินคุณลักษณะผู้เรียน ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการการจัดการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม 2 ฉบับ การวิเคราะห์ด้วยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้เรียน <em>(1) </em><em>คุณลักษณะด้าน</em><em>ร่างกาย</em> (<em>2)</em> <em>คุณลักษณะด้านอารมณ์และจิตใจ</em> (<em>3) คุณลักษณะด้านสังคม</em> และ <em>(4) คุณลักษณะด้านสติปัญญา</em> มีพัฒนาการอยู่ในระดับมาก 2) สภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา <em>(</em><em>1) ด้านนโยบายและกลยุทธ์การจัดการศึกษา (2) ด้านหลักสูตร</em> <em>(</em><em>3) ด้านการจัดการเรียนการสอน</em> (<em>4) ด้านสื่อและเครือข่ายการเรียนรู้</em> (<em>5) ด้านการวัดและประเมินผล</em> <em>(</em><em>6) ด้านการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา</em> <em>(7) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนของต้นสังกัด</em> <em>(8) ด้านภาคีเครือข่าย</em> และ <em>(9) ด้านการบริหารจัดการและการบูรณาการการจัดการศึกษา</em> สถานศึกษามีการบริหารจัดการ โดยดำเนินการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกด้าน และ 3) แนวทางการจัดการศึกษา รัฐบาลหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาเน้นการเตรียมความพร้อมควรบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง</p>
นงเยาว์ อุทุมพร
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
10 1
85
102