ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านชาบูหมาล่าของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจ, ชาบูหมาล่าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมผู้บริโภค และการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านชาบูหมาล่าในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านชาบูหมาล่าในจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคของร้านชาบูหมาล่าในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การทดสอบ F-test หรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะนำไปเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21–30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และมีสถานภาพโสด โดยมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านสุกี้จินดาบ่อยที่สุด เนื่องจากมีรสชาติอร่อย ความถี่ 1-2 ครั้งต่อเดือน มีค่าใช้จ่าย 201-300 บาทต่อครั้ง มักไปใช้บริการกับเพื่อน ในช่วงเย็นเวลา 18.01-21.00 น. ของวันหยุด และตนเองเป็นผู้ตัดสินใจเลือกร้าน สื่อที่ทำให้รู้จัก คือ สื่อออนไลน์ ส่วนการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านชาบูหมาล่า พบว่า มีภาพรวมการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 2) เพศที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านชาบูหมาล่าในจังหวัดอุบลราชธานีไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพการสมรส ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านชาบูหมาล่าในจังหวัดอุบลราชธานีแตกต่างกัน
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2567). 56101 การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2567 จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/searchJuristicInfo
กรรญา เสริมศักดิ์ศศิธร. (2564). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ชาบูชิของพนักงานในเขตนิคมอมตะนคร ชลบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กรุณา วงษ์กระจ่าง. (2562). กลไกการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่อเครื่องเทศ. วารสารอาหาร, 49(3), 25-32.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐานเศษฐกิจ. (2566, 20 สิงหาคม). โตแรง 6 เดือนร้านอาหารเกิดใหม่ทะลุหลักแสน. ฐานเศษฐกิจ, น. 15.
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2563). การตลาดบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์ (Service Marketing: Concepts and Strategies). พิมพ์ครั้งที่ 6 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2566). ถอดสูตรทุนจีนทำไมต้องธุรกิจหม้อไฟ (วิดีโอ) PPTVHD36. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://shorturl.asia/sxGDi
มธุรส พลพวก และธรรมวิมล สุขเสริม. (2565). ความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 441-456.
มนตรี ศรีวงษ์. (2567). ปี 67 ฟองสบู่ร้านหมาล่าแตกคนในอยากออกคนนอกอยากเข้า ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=8303
มนนภา นิลอาญา, ภัณฑารักษ์ กิตติพรรณนภา และณัฐธิกา อ่วมแจ้ง. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านหม้อไฟไหตี่เลา กรณีศึกษา สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันท์. (2564). ส่วนประสมการตลาดและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ฮาลาลของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ตภายใต้สถานการณ์โควิด 19. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(2), 161-182.
วรรณภา อนุจร และอรกัญญา กันธะชัย. (2567). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่างจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 19(70), 35-48.
วราภรณ เลอศักดิ์พงษา และณัฐนรี สมิตร. (2565). พฤติกรรม และความตองการกลับมาใชบริการรานอาหารบุฟเฟตประเภทชาบูของวัยทำงานในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 16(2), 65-79.
วรุตม์ คล้อยเจริญศรี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารปิ้งย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, และองอาจ ปทะวานิช. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ธุรกิจร้านอาหารทั้งปี 2566 คาดขยายตัวร้อยละ 7.1 ขณะที่ในระยะข้างหน้าการบริหารจัดการอาหารเหลือทิ้ง นอกจากช่วยลดต้นทุนยังสอดคล้องไปกับเป้าหมาย Net Zero (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3429). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://shorturl.asia/zNCPx
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (2566). ธุรกิจบริการอาหารปี 2024: ธนาคารไทยพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2567 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/restaurant-071123
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566-2567 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2567). กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
อภิญญา อ่อนพลับ. (2566). การวิเคราะห์แนวโน้มอุปสงค์ของผู้บริโภคหม่าล่าหม้อไฟในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัมรินทร์. (2566). เจาะกระแสความสำเร็จของธุรกิจ หมาล่า ที่แรงดีไม่มีผ่อน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.amarintv.com/spotlight/finance/52294
Adhiansyah, A., & Rizkyanfi, M. W. (2020). The Influence of Marketing Mix on Customer Purchasing Decision at The Abraham and Smith Restaurant. The Journal Gastronomy Tourism, 7(2), 106-119.
Hanna, N., & Wozniak, R. (2001). Consumer behavior: An applied approach. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. 15th global ed. Edinburgh: Pearson Education.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Putri, S. W. D. G., & Nilowardono, S. (2021). The Influence of Brand Image, Service Quality, and Social Media Marketing on Purchase Decision at Restaurant Navy Seals Surabaya. Quantitative Economics and Management Studies (QEMS), 2(4), 251–260. https://doi.org/10.35877/454RI.qems322
Schiffman, L. G., & Wisenblit, J. L. (2015). Consumer behavior. 11th ed. England: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept