รูปแบบทางการบัญชีที่เหมาะสมและการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุภัทรษร ทวีจันทร์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

รูปแบบทางการบัญชี, สารสนเทศทางการบัญชี, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการทำบัญชีและสารสนเทศทางการบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ผักไหม อินทรีย์ผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อออกแบบรูปแบบการทำบัญชีและสารสนเทศทางการบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศงานบัญชีที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ผักไหม ตำบลผักไหม จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจาก 1) ประธานกลุ่ม 2) รองประธานกลุ่ม 3) เจ้าหน้าที่บัญชีกลุ่มฯ รวมจำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสนทนากลุ่มการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอุปสรรคการทำบัญชีและสารสนเทศทางการบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มีการบันทึกบัญชีลงในสมุดทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องตามรูปแบบบัญชี ในการบันทึกบัญชีจะใช้เพียงสมุดเล่มเดียวในการจดรายการเงินสด ไม่มีสมุดบัญชีและทะเบียนคุม ไม่มีการจัดทำเอกสารหลักฐานในการบันทึกบัญชี การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ ในการออกแบบรูปแบบทางการบัญชีให้กับกลุ่ม มีรูปแบบบัญชี ประกอบด้วย 1) สมุดเงินสด 2) สมุดรายวันทั่วไป 3) สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป 4) สมุดบัญชีค่าสมัครสมาชิก 5) ทะเบียนสมาชิกและหุ้น 6) ทะเบียนคุมสินทรัพย์ 7) ทะเบียนคุมสินค้า 8) สมุดเงินฝากธนาคาร 9) บัญชีลูกหนี้ 10) บัญชีเจ้าหนี้ 11) สมุดขายสินค้า และ 12) สมุดรายได้ค่าบริการ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของชุมชนในด้านการบริหารจัดการกลุ่มและสอดคล้องกับความถูกต้องทางการบัญชี และมีการออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้งานภายใต้บริบทของวิสาหกิจชุมชนด้านระบบบัญชีโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม Excel มาช่วยในการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี ทำให้สามารถบริหารจัดการกับระบบข้อมูลทางบัญชีได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

References

ดนุชา สลีวงศ์ และณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 1-18.

บันเฉย ศรีแก้ว, วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ, และปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2559). การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสีธรรมชาติ: กรณีศึกษากลุ่ม บ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 22(2), 121-130.

ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว. (2558). การพัฒนาระบบบัญชีของกลุ่มอาชีพบ้านหนองกะโห้ อำเภอเมืองตาก. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 16(2), 30-43.

พัฒนพงศ์ สุวรรณชาต และสุภาภรณ์ คงสวัสดิ์. (2559). การประยุกต์ใช้ Excel กับงานบัญชี Application of Microsoft Excel in Accounting. วารสารนักบริหาร, 31(4), 116-122.

วิสุตร์ เพชรรัตน์, เตชิตา สุทธิรักษ์, พันธนันท์ อธิตัง, กุลวดี จันทร์วิเชียร, และวราพร กาญจนคลอด. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ด้วยวิธีอไจล์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(2), 86-99.

สัจวัฒก์ วรโยธา, มนัสดา ชัยสวนีย์ยากรณ์, วิลาสินี แสงคำพระ, และมงคล กิตติวุฒิไกร. (2561). การพัฒนาระบบบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 81-89.

สุภาภรณ์ คงสวัสดิ์ และพัฒนพงศ์ สุวรรณชาติ. (2554). การประยุกต์ใช้ Excel กับงานบัญชี. วารสารวิชาการ Executive Journal, 31(4), 116-122.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2567). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2566-2580. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-ontent/uploads/2024/03/PPT_Sum_masterp_140367.pdf.

เผยแพร่แล้ว

23-12-2024