ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ผลการปฏิบัติงาน, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี , ภาวะผู้นำ, การบริหารทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 258 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านการลาออกจากราชการ และด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ด้านผลการปฏิบัติงาน ด้านการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และด้านการปฏิบัติงานตามสถานการณ์ อยู่ในระดับมาก 2) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และด้านกระตุ้นทางปัญญาส่งผลในทางตรงกันข้ามกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
References
ธีรวุฒิ เอกะกุล (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
โนรีย์ ทรัพย์โสภณ (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดสระแก้วสังกัดสำนักงานคณักรรมการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บวรรัฐ มาเจริญ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยบริการ, 31(1), 90-100.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2548). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พรรณี เรืองบุญ, สมใจ ภูมิพันธุ์ และเฉลย ภูมิพันธุ์ (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 9-16.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิต
ในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-122.
อบจ.นนทบุรี. (2563). รางวัลอบจ.นนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2567 จากhttps://nontpro.go.th/public/list/data/showdetail/id/5494/menu/1402
Armstrong, M. (2006). Performance management: Key strategies and practical guidelines Dffective Human Resource Manag. 3rd ed. London, UK: Kogan Page.
Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York: The Free Press.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1993). Transformational leadership and organizational culture. Public Administration Quarterly.
Borman, W. C., & Motowidlo, S. J. (1997). Task performance and contextual performance: The meaning for personnel selection research. Human Performance, 10(2), 99-109.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Motowidlo, S. J., Borman, W. C., & Schmit, M. J. (1997). A theory of individual differences in task and contextual performance. Human Performance, 10(2), 71–83.
Yamane. (2003). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row.
Yukl, G. (2006). Leadership in Organizations. 6th ed. New York: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept