ปัจจัยด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากปลานิล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นรีนุช ยุวดีนิเวศ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ศุภเทพ สติมั่น คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วิกานดา เกษตรเอี่ยม คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์จากปลานิล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลานิล จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจับเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลานิลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพ สมรส อายุ 41-50 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 20,000 บาท ปัจจัยด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ปลานิล จังหวัดอุบลราชธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ มากที่สุด คือ ด้านราคา รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกกว่าคู่แข่งขัน มีการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางออนไลน์ สถานที่จำหน่ายสินค้าสะดวกต่อการเดินทาง และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมีรสชาติดี

References

จาตุรยา คลังจันทร์. (2558). โครงการจัดตั้งธุรกิจเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชุตินันท์ โรจน์เพ็ญเพียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เปรมปวีณ์ปิ่นแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากมะพร้าวน้ำหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด)

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2552). การวิจัยการตลาดและระบบ สารสนเทศทางการตลาด. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.: สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย, สุภาวดี ฮะมะณี, ศิระ สัตยไพศาล, รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร, กันต์สินี นุชเพนียด, และณัฐธยาน์ ตรีผลา. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดออนไลน์ของสินค้าชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ปลาช่อนแดดเดียว จังหวัดสิงห์บุรี. ใน การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ระดับชาติ ครั้งที่ 11 และนานาชาติ ครั้งที่ 5 (น. 387-398). นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี. (2563). กลุ่มสารสนเทศทางการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566 จากhttps://www.opsmoac.go.th/ubonratchathani-news-preview- 422991791429

สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี. (2566). จำนวนประชากร จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2566 จาก https://ubon.nso.go.th/index.php?option

สรียา ศศะรมย์ และณัฐดนัย ประพันธ์พจน์. (2561). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปลา สลิดแปรรูปภายใต้บรรจุภัณฑ์ในตลาดวัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 184-192.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

Awe, C. S. (2004). Library journal and now a few words from me: Advertising's leading critic lays down the law, once and for all. New York: Susan C Awe. Library.

Chang, T. Z., & Wildt, A. T. (1994). Price, Products information and purchase intention: An empirical study. Journal of the Academy of Marketing Science, 22(1), 16-27.

Kampas, J. P. (2003). Shafting cultural gears in technology-driven industries. MA: MIT Sloan Management.

Kotler, P. (2000). Marketing management. NJ: Prentice Hall.

Kotler P., & Armstrong, G. (2009). Principles of marketing. 13th ed. NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.

เผยแพร่แล้ว

06-09-2024