กลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะเนื้อ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ ศรีใจวงศ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • ภูดิส เหล็งพั้ง คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาด, ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด, แพะเนื้อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะเนื้อ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่ซื้อแพะเนื้อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะเนื้อ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มแบบง่าย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยนำมาวิเคราะห์และใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อแพะเนื้อ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}=4.11) โดยซื้อแพะเนื้อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพราะเป็นแพะเนื้อที่มีคุณภาพ (gif.latex?x\bar{}=4.76) ซื้อแพะเนื้อ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพราะเป็นแพะเนื้อ ที่เลี้ยงโดยคนในชุมชน (gif.latex?x\bar{}=4.67) และซื้อแพะเนื้อของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพราะเป็นแพะเนื้อที่มีแหล่งผลิตที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ (gif.latex?x\bar{}=4.57) ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อแพะเนื้อ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?x\bar{}=3.45) โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (gif.latex?x\bar{}=4.31) ด้านราคา (gif.latex?x\bar{}=3.98) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (gif.latex?x\bar{}=2.91) และด้านการส่งเสริมทางการตลาด (gif.latex?x\bar{}=2.60)

 ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเลือกซื้อแพะเนื้อต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน ในด้านผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอิทธิพลของพฤติกรรมการเลือกซื้อแพะเนื้อส่งผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อแพะเนื้อ ในด้านผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อแพะเนื้อ

References

กันตภณ กลั่นคำ, ธัชนนท์ ฟักแฟง, ธนกร ธรรมฤทธิ์, พิมพา หิรัญกิตติ, ณฐมน บัวพรมมี, และปณิศา มีจินดา. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากหญ้าแฝกภายใต้แบรนด์ Burawa. วารสาร RMUTT Global Business and Economics Review, 16(2), 121-140.

กัลยารัตน์ หัสโรค์. (2565). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ได้รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6), 7-19.

กรมปศุสัตว. (2563). ขอมูลจำนวนเกษตรกรผูเลี้ยงสัตวและจำนวนสัตวป 2563. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2567 จาก http://ict.dld. go.th/webnew/index. php/th/service-ict/report/340-report-thailand-livestock/reportservey2563.

เกษตรก้าวไกล. (2566). ส่งเสริมการตลาด งานแพะแห่งชาติ ประจำปี 2566. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2566 จาก https://www.kasetkaoklai.com/home /2023/02/ส่งเสริมการตลาด-งานแพะ.

ณฌา ขวัญมณี, และกลาโสม ละเต๊ะ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดแพะในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(1), 160-170.

ธัญญ์รวี ธรศิริปุณโรจน์, กฤษฎา ตันเปาว์, และกัญญามน กาญจนาทวีก. (2562). กลยุทธ์การตลาดสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์สปาผ่านช่องทางดิจิทัลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 72-84.

ธนวิทย์ อิ่มยิ้ม. (2562). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของการประกอบธุรกิจกวดวิชาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 340-352.

ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์, รักษาศิริ มนัสนันท์, นพรัตน์ ไมตรี, จิรวัลย์ โคตรภักดี, ศิวพร แพงคํา, และปราโมทย แพงคํา. (2562). ผลของระดับอาหารข้นและการตอนต่อคุณภาพเนื้อและองคประกอบทางเคมีของเนื้อแพะ. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแกน, 47(พิเศษ 1), 845-852.

ภาณุพันธุ ประภาติกุล, และกรรณิกา แซลิ่ว. (2564). การผลิตและการตลาดแพะเนื้อในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 3(3), 67-80.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร. พัฒนาศึกษา.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publisher.

Engel, J.F., Blackwell, R. D., & Miniard, P. W. (1993). Consumer behavior. 7th ed. Fort Worth: The Dryden Press.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th ed. New Jersey: Pearson Education.

Hoyer, W.D., & Macinnis, D.J. (1997). Consumer Behavior. Boston: Houghton Mifflin.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

เผยแพร่แล้ว

08-03-2024