การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ตลาดของอาหารเพื่อสุขภาพผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านหัวเสือ ลำปาง

ผู้แต่ง

  • พงศ์วัชร ฟองกันทา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://orcid.org/0000-0001-6261-5367
  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุวรรณี เครือพึ่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ธิดารัตน์ ผมงาม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ชุมชน, การคิดเชิงออกแบบ, อาหารเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านหัวเสือสู่ตลาดของอาหารเพื่อสุขภาพผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ 2) เพื่อประเมินผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านหัวเสือสู่ตลาดของอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ คนในชุมชนบ้านหัวเสือ จำนวน 60 คน และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแคบแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ แบบสนนทนากลุ่มและแบบประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสุขภาพ ได้ผลิตภัณฑ์ข้าวแคบควินัวสมุนไพรที่มีขนาดพอเหมาะและง่ายต่อการรับประทาน มีส่วนประกอบของธัญพืชควินัวและน้ำสมุนไพรใบเตยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวแคบที่มีลักษณะที่แข็งแรง สวยงาม ไม่ส่งผลทำให้ข้าวแคบเกิดความเสียหาย และมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ข้าวแคบควินัวสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านหัวเสืออยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงสาธารณสุข (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.

ตระกลูพันธ์ พัชรเมธา (2559). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับการพัฒนาสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(1), 67-80.

ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์ (2554). เชาวน์ปัญญากับการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 27-30.

ธีทัต ตรีศิริโชต และกฤษดา เชียรวัฒนสุข (2564). การประยุกต์ใช้หลักการคิดเชิงออกแบบกับธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่: รูปแบบและกรณีศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 295-307.

ปิติพงษ์ โตบันลือภพ, ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์, และเบ็ญจารัชด ทองยืน. (2562). การคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ควินัวที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์ภายใต้สภาพของประเทศไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์ ประจำปี 2562 โครงการวิจัยที่ 3020-A091). มูลนิธิโครงการหลวง.

พรรณี พิมาพันธุ์ศรี (2564). นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขับเคลื่อนด้วยมูลค่าท้องถิ่น. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 128-147.

ศศิพร ต่ายคํา และนรินทร์ สังข์รักษา (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1), 606-632.

ศูนย์วิจัยกสิกร (2560). โอกาสของ SME ในการดำเนินธุรกิจ เกี่ยวเนื่องกับอาหารเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/ksmeanalysis/documents/ healthyfoodbusinessgrowth.pdf

สุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์ (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 63(199), 19 - 21.

สุบิน ยุระรัช (2565). ทําไมต้องลิเคิร์ต?. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1),152-165.

เสาวณิต ชัยรัตนภิวงศ์ จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และกรรณิการ์ ณ ลำปาง (2562). ความพึงพอใจของเจ้าของร้านอาหารและผู้บริโภคต่อโครงการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 9(2), 1-16.

อรอนงค์ วูวงศ์, ฉวีวรรณ สุวรรณาภา, เกรียงศักดิ์ ฟองคํา, และนวัชโรจน์ อินเต็ม (2566). การพัฒนาเทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 91-104.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review, 2, 84-95.

DEX Space. (2017). Design Thinking คืออะไร. Retrieved December 3, 2022, from http://www.dexspace.co/design-thinking-overview/

Kotler, P. (2001). Marketing Management Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Lawson, B. R., & Dorst, K. (2009). Design expertise. Burlington, MA: Elsevier.

Mccathy, E. J., & Pereault, Jr., W. D. (1991). Basic Marketing. New York: Mc Graw-Hill

Oliver, R. L. (2010). Satisfaction A Behavioral Perspective on the Consumer. New York: Taylor & Francis.

Stanford d. school Bootcamp Bootleg. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved December 1, 2022, from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/

attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAM P2010L.pdf

เผยแพร่แล้ว

08-01-2024