การพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • คัจฉนันท์ เลิศพงษ์ศิลป์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • รพีพรรณ โสภากุล คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ส่วนประสมทางการตลาด, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อันได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากรหรือพนักงาน ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ที่มีต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชน และเพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการพัฒนารูปแบบส่วนประสมทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 410 ตัวอย่าง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน โดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากรหรือพนักงาน ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบ้านบุญเกิด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กฤษลักษณ์ ชุ่มดอกไพร. (2564). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7P's ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์การค้าดองกิมอลล์ทองหล่อ (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2560). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/6938

จุฑามาศ ฝึกฝน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ชาริณี กีรติโชติ และบรินดา สัณหฉวี. (2561). รูปแบบการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตรและการสื่อสาร, 13(3), 144-153.

ณัตตยา เอี่ยมคง. (2565). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชน ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 7(1), 9-20.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมี่ยม กรณีศึกษาผู้บริโภคในอําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพดล โกฎคำลือ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการสถานบริการน้ำมัน Mr.ปิโตรเลียมในเขตอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทรงพร เทือกสุบรรณ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทัศนา หงษ์มา. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน). (2561). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมูบ้าน เศรษฐกิจพอเพียงตนแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ กิตติธรกุล และบัญฑิต ไวว่อง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสับปะรดภูเก็ต กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสับปะรดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมนาเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 14 (น. 32-43). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

วราพร โภชน์เกาะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดของกลุ่มชุมชนบ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (น. 529-539). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วัชรี มนัสสนิท และคณะ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 13(25), 106-119.

วัชราภรณ์ เวชกุล. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของเห็ดถั่งเช่าสกัดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย, มนวิกา ผดุงสิทธิ์, และนภดล ร่มโพธิ์. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

สุรียทิพย์ ประยูรพัฒน์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 161-171.

เสรี พงศ์พิศ. (2550). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

เสน่ห์ ซุยโพธิ์น้อย. (2561). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ้าไหมปักธงชัยของประชากร จังหวัดนครราชสีมา (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2550). เพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.nstda.or.th/home/news_post/nstda-newsletter-1y5-article/

อารี วิบูลย์พงศ์. (2555). ความรู้จากงานวิจัยวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 4(6), 112-133.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Euromonitor international. (2021). เจาะลึก 10 เทรนด์ผู้บริโภคทั่วโลก 2021 และคำแนะนำแบรนด์รับมือความเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2021/01/euromonitor-10-consumer-trends-2021/

Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11th ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson Prentice Hall.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

เผยแพร่แล้ว

02-01-2024