การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง กรณีอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง, แนวทางการเพิ่มมูลค่าสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสริมและแนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงกรณีอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แต่กลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 5 กลุ่ม เจาะจงกลุ่มละ 50 คน รวม 250 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า One WAYANOVA ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเสริมที่จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัจจัยการผลิต (4.25) และส่วนที่จะช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างแท้จริง ได้แก่ ผู้ประกอบการมีความรู้ครบทุกด้านในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตั้งแต่ การจัดการวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการตลาด (4.94) ส่วนแนวทางในการเสริมได้แก่ ผู้ประกอบการควรเสริมความรู้และตื่นตัวตลอดเวลาเกี่ยวกับวิธีการจัดการวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และการตลาดแบบออฟไลน์กับออนไลน์
References
นิธิโรจน์ ศุภกฤษสุวรรณกุล (2560) ซึ่งทำวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้และพัฒนาระบบฐานข้อมูลความหลากหลายด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 1(1), 57-72.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิณ. (2556). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
ปรีชา ปาโนรัมย์ และคณะ. (2561). การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถใช้เชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬารองรับงานมหกรรม Motor GP ปี 2018. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2(1), 65-73.
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2564). ผลิตภัณฑ์ OTOP. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2564 จาก https://cep.cdd.go.th/otop-data/ผลิตภัณฑ์-otop
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept