กฎหมายต้นแบบว่าการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นความมนุษย์
คำสำคัญ:
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, สิทธิมนุษยชน, สิทธิขั้นพื้นฐาน, การคุ้มครอง, กฎหมายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และกำหนดวิธีวิทยาการวิจัยในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนไทยมีการละเมิดมาโดยตลอดบางครั้งถูกละเมิดควบคู่ไปกับการละเมิดสิทธิอื่น เช่น การค้ามนุษย์ หรือการบังคับใช้แรงงาน แต่ที่เป็นปัญหาคือไม่สามารถจะลงโทษผู้กระทำผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นกฎหมายใหม่ระดับพระราชบัญญัติ โดยมีโครงสร้างของกฎหมายประกอบด้วยคำนิยาม องค์ประกอบความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ องค์ประกอบความผิดฐานละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทกำหนดโทษ จะทำให้มีฐานความผิดที่จะลงโทษผู้ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้และทำให้ผู้ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากการวิจัยไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้มีการใช้บังคับ
References
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.กรุงเทพฯ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.
กุลพล พลวัน. (2538). พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
กุลพล พลวัน. (2543). สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เค ซี กรุ๊ป.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2562). “ความเข้าใจในรัฐกษัตริย์กับสิทธิ อิศรภาพ (อิสรภาพ) และเสรีภาพ” รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2562). “คุณค่าของความเป็นมนุษย์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2564). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2564). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
จรัญ โฆษณานันท์. (2559). สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน : ปรัชญา กฎหมาย และความเป็นจริงทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2556). กฎหมายมหาชน ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2564). กฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Andrew Clapton. (2559). Human Rights: A Very Short Introduce [สิทธิมนุษยชน: ความรู้ฉบับพกพา]. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. (2562). ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2556). สิทธิ และ เสรีภาพ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นพนิธิ สุริยะ. (2559). สิทธิมนุษยชน: แนวคิดและการคุ้มครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2561). หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2562). “สิทธิมนุษยชนกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (มปป.). หลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปเกี่ยวกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง.กรุงเทพฯ: หจก. มิราเคิล ครีเอชั่นอินเตอร์ พริ้นท์.
สัญชัย สุวังบุตร. (2549). ไมน์คัมพฟ์ (Mein Kampf) หนังสือต้องห้ามแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 31(1), 168-183.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อาทิพาเนีย.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2561). สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept