การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ
คำสำคัญ:
national park, national park management, law amendmentบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ และกำหนดวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การจัดการอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ในปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการปัญหาการบุกรุก ปัญหาขยะและน้ำเสียได้ ส่งผลให้อุทยานแห่งชาติได้รับผลกระทบต่อระบบนิเวศ ดังนั้นการวิจัยนี้ได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยมีโครงสร้างกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไข ประกอบด้วยคำนิยาม อำนาจหน้าที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในการกำหนดนโยบายในการจัดการอุทยานแห่งชาติ การจัดการบุกรุก การจัดการขยะและน้ำเสียตลอดจนการกำหนดพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติเพื่อการจัดการขยะและน้ำเสีย การจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ และบทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะให้มีการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ จากการวิจัยไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อการใช้บังคับ ตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2556). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จินตวีร์ เกษมสุข. (2557). หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
จุมพล สายสุนทร. (2550). กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ การคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ทรงธรรม สุขสว่าง. (2561). ยุทธศาสตร์การจัดการอุทยานแห่งชาติสู่สากล. กรุงเทพฯ: หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2540). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : อาทิพาเนีย.
สมศักดิ์ โตรักษา. (2552). กฎหมายเพื่อคุ้มครองที่ดินของรัฐจากการบุกรุก (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุทธิศักดิ์ ภัทรมานะวงศ์. (2553). การป้องกันล่วงหน้า: การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรพล นิติไกรพจน์. (2546). ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิบัติพันธกิจตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept