การพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก
คำสำคัญ:
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก, ละเมิด, การคุ้มครองเด็ก, กฎหมาย, การบังคับใช้กฎหมายบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มบทบัญญัติกฎหมายให้มีการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า เด็กเป็นกลุ่มเปราะบางที่ถูกละเมิดสิทธิของเด็กหลายประการแม้จะได้มีกฎหมาย คุ้มครองเด็กหลายฉบับแต่ก็ไม่มีการบัญญัติคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก ทั้ง ๆ ที่มีการกระทำความผิดต่อเด็กแฝงด้วยการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กอยู่ด้วย จึงทำให้ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดในความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ การจะคุ้มครองศักดิ์ความเป็นมนุษย์ของเด็กได้จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายหลักที่ใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ให้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโครงสร้างกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มเติม ประกอบด้วย คำนิยาม องค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก มาตรการในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก มาตรการในการฟื้นฟูและเยียวยาเด็กที่ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่มีบทบัญญัติคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กจากผลการวิจัยนี้ไปตราเป็นกฎหมายตามกระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อให้เด็กได้รับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กและเพื่อที่จะทำให้ผู้ละเมิดได้รับโทษ
References
กุลพล พลวัน. (2538). พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
กุลพล พลวัน. (2547). สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2562). “คุณค่าของความเป็นมนุษย์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2564). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
จรัญ โฆษณานันท์. (2544). รัฐธรรมนูญ 2540: จาก "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สู่ธัมมิกสิทธิมนุษยชน". กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ฐิติมา ชูใหม่. (2559). การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 1(2), 18-33.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานของสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2556). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ สืบกระพันธ์. (2558). พุทธศาสนา: ปรัชญาแห่งชีวิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 3(2), 25-36.
มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์. (2561). “แนวทางเบื้องต้นในการปรับใช้หลักประโยชน์สูงสุดในประเทศไทย” ที่ระลึก 60 ปี พี่ใหญ่ ใจหาญ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2564). ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อ่านกฎหมาย.
วินัดดา ปิยะศิลป์. (2550). ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เล่ม 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อาทิพาเนีย.
หยุด แสงอุทัย. (2556). กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept