กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ผู้แต่ง

  • คุณาชา ไชยชุมพร
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

คำสำคัญ:

ก๊าซเรือนกระจก, พันธกรณี, สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การซื้อขายสิทธิ, กฎหมายต้นแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงปารีส (COP21) และตามการประชุม COP 26 โดยประกาศที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608)  แต่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่จำกัดสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยระบบอนุญาต รวมถึงไม่มีมาตรการในการตรวจวัด รายงาน หรือติดตามตรวจสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะนำไปสู่การซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย คณะกรรมการกำกับดูแลระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสำนักงานกำกับดูแลระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การให้ใบอนุญาต การตรวดวัดและจัดทำรายงาน การซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตรการส่งเสริม ค่าธรรมเนียม และบทกำหนดโทษ ซึ่งจะเป็นกลไกทางกฎหมายที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับสหประชาชาติ การวิจัยเสนอแนะให้มีการนำร่างกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปตราเป็นกฎหมายเพื่อให้มีการจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้มีระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2563). คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. กรุงเทพฯ: ป่าฝน เนกซ์สเตป.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ. (2552). ความรู้เรื่องตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2562). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นพดล ปิ่นสุภา. (2561). ผลกระทบของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP 21) ต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

นัทมน คงเจริญ. (2561). กฎหมายกับสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภวิชญ์ พ่วงสุวรรณ และพินัย ณ นคร. (2563). มาตรการทางกฎหมายเพื่อการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(35), 193-204.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2533). หลักความได้สัดส่วน. วารสารนิติศาสตร์, 20(4), 99-109.

สมยศ เชื้อไทย. (2558). นิติปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2542). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อาทิพาเนีย.

เผยแพร่แล้ว

09-06-2022