การชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดเปรียบเทียบไทย-อังกฤษ

ผู้แต่ง

  • พรเทพ อ่อนรัตน์
  • บุญชนะ ยี่สารพัฒน์
  • สุขชาติ เลิศวุฒิรักษ์

คำสำคัญ:

การชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด , ความเสียหาย, บริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดกรณีประเทศไทย-อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมประเทศอังกฤษใช้การฟ้องร้องทางศาลเป็นช่องทางหลักของผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายที่จะใช้เป็นช่องทางในการเรียกร้องการชดเชยเช่นเดียวกับประเทศไทย เพื่อดูข้อเด่นข้อด้อยนำมาปรับใช้กับการชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดของไทยจึงมีการศึกษาเปรียบเทียบการสร้างกลไกในการจัดการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการสาธารณสุขเพื่อเป็นแนวทางในการตรา แก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องการชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดที่เกิดจากการใช้บริการสาธารณสุข โดยผู้เขียนบทความได้กำหนดประเด็นเปรียบเทียบการชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดไทย-อังกฤษ ดังนี้ 1) แนวคิดและหลักการบริการสาธารณสุข 2) กลไกการชดเชยความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุข และ3) ระบบการชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด

References

ลันตา อุตมะโภคิน. (2554). ระบบชดเชยความเสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด: การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขของไทย. จุลนิติ, 8(3), 59-65.

ลือชัย ศรีเงินยวง, นฤพงศ์ภักดี, จิราพรชมศรี, และจเร วิชาไทย (2553). ประสบการณ์ต่างแดน: ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

สุรัชดา รีคี.(2562). เอควิตี้ หลักแห่งความยุติธรรมในกฎหมายอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา. (2019). การจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2563 สปสช.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จาก https://www.hfocus.org/content/2019/07/17366

อิทธิพล สูงแข็ง. (2019). บรรยายพิเศษเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการในการประชุมพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ซึ่งจัดโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น. จาก https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725

Antos, J.R. (2003). Reforming health insurance: realistic options and hard choices. Health affairs, 8(1), 212-215.

Gallagher, T.H., Waterman, A.D., Ebers, A.G., Fraser, V.J., & Levinson, W. (2003). Patients’ and physicians’ attitudes regarding the disclosure of medical errors. JAMA, 289(8), 1001-1007.

Gaine, W.J. (2003). No fault compensation systems, Experience elsewhere suggests it time for the UK introduce a pilot scheme. BMJ, 326, 997.

Gilmour, J.M. (2006). Patient Safety, Medical Error and Tort Law: An International Comparison. Canada: York University.

Horwitz, J., & Brennan, T.A. (1995). No-fault compensation for medical injury: A case study Health Affairs, 14(4), 164-179.

เผยแพร่แล้ว

09-06-2022