ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวังและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชี ในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ บุตรสาลี
  • สุพัตรา รักการศิลป์
  • เอมอร แสวงวโรตม์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวัง, การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี, คุณภาพข้อมูลทางบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวังและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 181 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล F-test การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวัง ด้านความรู้ทางวิชาชีพ ด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านทักษะการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชี โดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านเปรียบเทียบกันได้ และคุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวัง ด้านทักษะการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชี ด้านความเข้าใจได้ และ 2) การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านการรักษาความลับ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความซื่อสัตย์ และด้านมาตรฐานในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชี โดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านเปรียบเทียบกันได้

References

กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีปทุม.

จิรภัทร์ มั่นคง. (2561). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการและพนักงานการเงินและบัญชี กรมการเงินทหารบกที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงิน (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. (2561). การใช้ข้อมูลทางบัญชีสำหรับนักกฎหมายในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 8-18.

ชลิดา ลิ้นจี่, กนกมณี หอมแก้ว และสุภาพร บุญเอี่ยม. (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 34-45.

ตรีทิพย์ อนันต์. (2556). การปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิผลการทำงานของผู้ตรวจสอบบัญชีในทัศนะของนักธุรกิจ SMEs ในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์การศึกษาบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต) สงขลา:มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นิภาพรรณ ดุลนีย์ และปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี. (2562). ความรู้ความสามารถที่คาดหวังกับสมรรถนะทางการบัญชีที่คาดหวังสำหรับนักบัญชีขององค์กรภาครัฐในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 25(1), 149-163.

ประดินันท์ ประดับศิลป์ และลักษณา เกตุเตียน. (2557). จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ปฏิบัติงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครต่อการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรเทพ เวียงแก. (2562). จรรยาบรรณวิชาชีพตามแนวพุทธศาสตร์ : ศีล 5. วารสารแสงอีสานขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, 16(1), 230-242.

วารีพร อยู่เย็น. (2563). รูปแบบการพัฒนาจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), 318-330.

วริยา ปานปรุง และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะ ของนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “Graduate School Conference 2018” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (น. 694-703) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศรีศรินทร์ สุขสุทธิ และณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย. (2563). อิทธิพลของข้อมูลทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้จัดการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา, 6(1), 15-18.

สกลพร พิบูลย์วงศ์. (2555). ความคิดเห็นของนักบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุนเกี่ยวกับการวางแผนระบบควบคุมภายใน และสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชี (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สนทนา สุขใจ และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2562). คุณลักษณะของนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานศาลยุติธรรม (วิทยานิพนธ์การศึกษาบัญชีมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุทธาทิพย์ บุญเรือง, ปรีชญา ชุมศรี และมัทนชัย สุทธิพันธ์. (2562). คุณภาพข้อมูลทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 77-94.

สุมินทร เบ้าธรรม และดวงฤดี อู๋. (2559). จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี : มุมมองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(2), 141-156.

อณัญญา จันทร์เศษ, สมชาย เลิศภิรมย์สุข และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2560). ทักษะและจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีในมุมมองของนักบัญชี เขตหนองแขม. รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9, 777-789.

Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. (7thed). New York: John Wiley & Sons.

Hair, J. F. and others. (2006). Multivariate Data Analysis. (6thed). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Journal of Educational Research, 2, 49-60.

เผยแพร่แล้ว

09-06-2022