ความสัมพันธ์ระหว่างความศรัทธาในวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จ ในการประกอบอาชีพของนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สายฝน อุไร

คำสำคัญ:

ความศรัทธาในวิชาชีพบัญชี, ความสำเร็จในการประกอบอาชีพ, นักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความศรัทธาในวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการประกอบอาชีพของนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความศรัทธาในวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จในการประกอบอาชีพของนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 181 คน โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเปิดตาราง Krejcie & Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และประสบการณ์ในการทำงาน 5-10 ปี 2) สำนักงานบัญชีคุณภาพในจังหวัดบุรีรัมย์มีทุนจดทะเบียนส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 1,000,000 บาท จำนวนพนักงานต่ำกว่า 20 คน ระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 – 6 ปี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสำนักงานบัญชี 300,000 – 400,000 บาท 3) นักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความศรัทธาในวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านความยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านการทุ่มเทกับงานในวิชาชีพ และความจงรักภักดีในวิชาชีพ 4) นักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการประกอบอาชีพของนักบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านความคุณภาพในการทำงาน ด้านความรู้ความสามารถ และด้านประสิทธิภาพในการบรรลุจุดหมาย 5) ความศรัทธาในวิชาชีพบัญชีมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการประกอบอาชีพโดยรวม (JSB) ได้แก่ ด้านการทุ่มเทกับงานในวิชาชีพ (PDA2) และด้านการมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ (PAA4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ผู้ทำบัญชี

(e- Accountant). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1589. (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564).

กานดา แซ่หลิ่ว.(2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี. รายงานการวิจัย. บัญชีมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิลุบล คงไมตรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบทางการบัญชีกับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักบัญชีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร.บัญชีมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พินยา พลแก้ว.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความศรัทธาในวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. รายงานการวิจัย.บัญชีมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัตรา รักการศิลป และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย. บุรีรัมย์ : มหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุมินทร เบ้าธรรม.(2558). ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจและการพัฒนาตนเองที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่ทำงานอยู่ในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานการวิจัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิวัฒน์ จันกัน. (2559). การเปรียบเทียบบุคลิกภาพของพนักงานธนาคารระดับหัวหน้างานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานสูงและต่ำ. รายงานการวิจัย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Milson, Andrew J. (2015). The Internet and Inquiry Learning : Integrating Medium and Method in a SixthGrade Social Studies Classroom. New York : Halt Rinchat and Winston,

Bebi, L. (2017). The influence of age on being a successful accountant in albania.

International.Journal of Current Research and Review Technology,

Solow, Andrew R. and James M Broadus. (2015.) “The Meaning of Biodiversity: Issues

the measurement of Biological Diversity '28 Vanderbilt, "Journal of Transnational Law.

เผยแพร่แล้ว

09-06-2022