การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กานต์มณี การินทร์
  • รวีพรรณ อุตรินทร์
  • ฐิติพร วรฤทธิ์
  • อนงค์ ทองเรือง

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, ผลตอบแทน, กัญชา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกกัญชา และเพื่อเสนอแนะแนวทางการควบคุมต้นทุนของการปลูกกัญชา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิสาหกิจชุมชนที่ปลูกกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ และ 2) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การปลูกกัญชาแบบกรีนเฮาส์จะให้อัตรากำไรสุทธิที่สูง รองลงมา คือ การปลูกปิดในอาคาร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าด้านการลงทุน เศรษฐกิจ และสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความคุ้มค่าด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก และ 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนควรใช้วิธีการปลูกกัญชาแบบกรีนเฮาส์หรือเลือกรูปแบบการปลูกกัญชาตามศักยภาพของตนเอง โดยต้องได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกกัญชา อีกทั้งควรกำหนดราคาขายส่ง และขายปลีกให้อยู่ในระดับเดียวกันทั้งกลุ่ม

References

กัญญามน อินหว่าง และคณะ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ระบบสืบค้นข้อมูลสืบค้นใบอนุญาตสำหรับกัญชา. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 จาก http://hemp.fda.moph.go.th/fda_ marijuana/staff/marijuana_report_public.

กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข. (2563). คู่มือการขอรับอนุญาตปลูกกัญชาสำหรับเกษตรกร. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์.

ฐิติพร วรฤทธิ์ และคณะ. (2561). กลยุทธ์การตลาดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มวิสาหกิจมชนผ้าไหม 5 ดาว ในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับสู่ความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการระดับชาติ ปริญญาตรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ไทยรัฐ. (2564). 8 วิสาหกิจชุมชน เก็บช่อดอกกัญชาทางการแพทย์ 200 กก. ลอตแรกของกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.thairath.co.th/news/2233433

นิภาพร อามัสสา, วสันต์ ป้อมเสมา, สุมาลี ชัยสิทธิ์ และวิทยา พิมพ์ดา. (2563). องค์ความรู้และความเชื่อสู่พฤติกรรมการใช้กัญชาทางการแพทย์ในมุมมองของชุมชนไทลาวและชุมชนไทโคราช จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พนารัช ปรีดากรณ์ และสุภาวดี เหล่าฤทธิรัตน์. (2561). การสร้างเครือข่ายธุรกิจที่มีศักยภาพ: กรณีศึกษาเครือข่ายเครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าในต่างประเทศ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 5, 1-43.

รวิสสาข์ สุชาโต และคณะ. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการเพาะปลูกกัญชาเพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

วรวรรณ ทองสุข. (2563). กัญชากับการศึกษาเกษตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 144-154.

ศตนันท์ สุริยฉาย. (2565). อภัยภูเบศรแนะวิธีปลูกกัญชา. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565 จากhttps://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_180612

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). “กัญชา” จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจไทย ได้หรือไม่?. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social- media/pages/fb-cannabis-14-01-20.aspx

สิริกร นามลาบุตร และชนิดา เพชรทองคา. (2563). การศึกษากรอบและติดตามประเมินผลนโยบายกัญชา ในจังหวัดหนองคาย. รายงานการวิจัยแผนงานศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง. (2564). เคล็ดลับการปลูกกัญชา กัญชง ที่ใครก็ทำได้. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.opsmoac.go.th/angthong-local_wisdom-preview-431491791822.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Denzin, N. K. (1970). The Research act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods. Chicago: Aldine Publishing.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

เผยแพร่แล้ว

09-06-2022