นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • บัญชา จันทราช อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ธนาคารน้ำใต้ดิน , การเกษตรยั่งยืน , บริหารจัดการน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนในด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้และแนวทางการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเสนอแนะรูปแบบการจัดการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินอย่างยั่งยืนในการพึ่งพาตนเองได้ บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสำรวจข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้บริหาร ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน โดยการเปิดตารางทาโร่ยามาเน ได้จำนวนทั้งสิ้น 364 คน (ใช้เกณฑ์ 4,000 คน ) โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน 5 % และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นจากกลุ่มตัวอย่างอื่นได้อยู่ที่ .816 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และ F-Test ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้สร้างองค์รู้ใหม่ให้เกิดขึ้นกับชุมชน ตลอดทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน อันจะเกิดประโยชน์ต่อชาวเกษตรกรและส่วนร่วมเป็นสำคัญ สามารถช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ลดเวลาการบริหารจัดการของเกษตรกรชุมชนอย่างยั่งยืน  และสามารถเป็นต้นแบบกับชุมชนอื่นได้อย่างแท้จริง

References

ขวัญใจ เปือยหนองแข้ เเละสัญญา เคณาภูมิ. (2564). ธนาคารน้ำใต้ดินนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 92-93.

จุฬาภรณ์ ถาวร. (2550). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของแกนนำเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ. (2560). การบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยการจัดการน้ำชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 23(134), 66.

ชวนากร สีดาชมพู. (2565). การเติมน้ำใต้ดินชั้นอุ้มน้ำแบบเปิดโดยการใช้สระเก็บน้ำผิวดินโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน: กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จาก http://www.dgr.go.th/th/newsAll/124/2627

โชคสุข กรกิตติชัย. (2565). ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน: วิทยากรเชี่ยวชาญ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565 จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2563-nov3

ดารารัตน์ ธาตุรักษ์, วชิระ หล่อประดิษฐ์ และวัชรี เทพโยธิน. (2566). การจัดการปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่งฮ้างและบ้านแม่จอกฟ้า จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(1), 78-88.

ธีรวุฒิ เอกกุล. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

ธนกฤต รุ่งแสงทวี. (2565). นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 375- 378.

นริศรินทร พันธเพชร.(2564). รูปแบบการจัดการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินอย่างยั่งยืนของจังหวัดยโสธร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 93-99.

สถาบันพัฒนาศักยภาพท้องถิ่น และมูลนิธิเพื่อสังคมไทย. (2554). คู่มือการใช้แบบมาตรฐานระบบส่งน้ำและระบายน้ำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมชลประทาน.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2563). โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

องค์การบริหารส่วนจังหวัด. (2565). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานจังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565 จากhttp://www.bpao.go.th/bpaoweb/index.php?option=com_content&view=article&id=14&Itemid=10

อนุสรณ์ กาลดิษฐ์. (2548). การศึกษาความรู้และความตระหนักของนักศึกษาที่มีต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการวิศวอุตสาหการ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เผยแพร่แล้ว

26-05-2023