การพัฒนากฎหมายในกระบวนการยุติธรรมสงฆ์ไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาประยูร คำมา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาความผิดวินัยสงฆ์ของสงฆ์ไทย โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น

ผลการวิจัย พบว่า กระบวนวิธีพิจารณาความผิดวินัยสงฆ์ในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น มีความไม่สะดวก ไม่รวดเร็ว และไม่เป็นธรรม ส่งผลให้พระสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยสงฆ์ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนวิธีพิจารณาความผิด จึงปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2521 โดยมีโครงสร้างกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไข ประกอบด้วยผู้ใช้อำนาจพิจารณา กระบวนการพิจารณา ขั้นตอนการไต่สวน การลงนิคหกรรม การอุทธรณ์ การฎีกา และความเป็นธรรมสำหรับสงฆ์     ที่ถูกกล่าวหาเมื่อพบภายหลังว่าบริสุทธิ์ จะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่พระสงฆ์

การวิจัยเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29 และให้จัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2521 ตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้

References

กรมหมื่นพิชิต ปรีชากร. (2526). “ธรรมสารวินิจฉัยว่ายุติธรรมเป็นอย่างไรและกฎหมายคืออะไร,” เอกสารประกอบการศึกษาวิชานิติปรัชญา ชั้นปริญญาตรี ภาคสอง : บทนำทางประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มิตรนราการพิมพ์.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และ ระวี ภาวิไล. (2532). พุทธบริษัท กับ พระธรรมวินัย. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิพม์ปัญญา.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2526). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2541). วินัยมุข. เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 39.กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2553). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในอริยวินัย: วิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : อาทิพาเนีย.

สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2553). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในอริยวินัย: วิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และ ระวี ภาวิไล. (2532). พุทธบริษัท กับ พระธรรมวินัย. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิพม์ปัญญา.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2526). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2541). วินัยมุข. เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 39.กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

03-12-2021