ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ คงทอง

คำสำคัญ:

ผู้บริโภค, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ข้อบัญญัติท้องถิ่น, , สิทธิผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายท้องถิ่นที่กำหนดขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการคุ้มครองผู้บริโภคท้องถิ่นและกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามของผู้ประกอบการ การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น

ข้อค้นพบของการวิจัย  คือ การคุ้มครองผู้บริโภคโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากกฎหมายว่าด้วยหลักการกระจายอำนาจและกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นฐานอำนาจในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยมีสาระสำคัญของกฎหมาย ประกอบด้วย ขอบเขตแห่งอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรฝ่ายปฏิบัติการ กระบวนการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการดำเนินคดี

การวิจัยเสนอแนะให้มีการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่นต้นแบบจากการวิจัยและให้มีการนำเอาข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบนี้เผยแพร่สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคท้องถิ่นตามรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

References

ณัฐพล ใจจริง และคณะ (2560). ข้อบัญญัติท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.

วสันต์ พานิช และคณะ. (2556). คู่มือสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : เดือนตุลา.

วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2551). การถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ของรัฐให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : อาทิพาเนีย.

สุษม ศุภนิตย์. (2557). คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

03-12-2021