พฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรบ้านหินลาดหมู่ 4, หมู่ 5, หมู่ 6 และหมู่ 9 ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ทศพร แก้วขวัญไกร
  • ฐิติพร วรฤทธิ์
  • บุญญฤทธิ์ เทียนวรรณ
  • จินตนา น้อยโพนทัน
  • วัลวิภา ชาติชาวนา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, สภาพปัญหา, บัญชีครัวเรือน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกรบ้านหินลาด 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกรบ้านหินลาด กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย จำนวน 259 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรบ้านหินลาดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 155 คน จบการศึกษาประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 อาชีพทำการเกษตรและรับจ้างทั่วไป โดยพฤติกรรมทั่วไปเข้าใจในการทำบัญชีในระดับปานกลางและเริ่มทำน้อยกว่า 3 เดือน ซึ่งเป็นการจดบันทึกเน้นเขียนเป็นรายเดือนมากกว่ารายวัน ขณะที่ทัศนคติต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนมีระดับมากที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อการลดปัญหาหนี้สินในอนาคต 2) สภาพปัญหาอุปสรรคที่พบเกิดจากขาดความรู้ความเข้าใจ แรงจูงใจในการทำบัญชีครัวเรือน อันเกิดจากขาดการช่วยเหลือแนะนำและอธิบายถึงการจดบันทึกอย่างถูกต้อง

References

เอกสารอ้างอิง
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สทบ.), สำนักงาน. (2561). ยุทธศาสตร์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 12
สิงหาคม 2561, จาก www.villagefund.or.th/document/ยุทธศาสตร์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติ
จันทร์เพ็ญ ดวงแก้ว. (2552). ความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 , จาก
http://www.it4social.net/space/index.php
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2561). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความอยู่รอดการจัดการกลุ่มชุมชนทอผ้าไหม อำเภอบ้านด่าน
จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา,
5(2), 67-85.
ทศพร แก้วขวัญไกร, บัญชา จันทราช, ภวิษหาญ พะนุมรัมย์, รุ่งนภา เมินดี, ศิระ เพ็ชรจำเริญสุข, และวณิชา
แผลงรักษา. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรผู้ผลิต
ข้าวหอมมะลิอินทรีย์โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลเสม็ดอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์.
ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4”.
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์
ปรีชา ปาโนรัมย์, ทศพร แก้วขวัญไกร, และกุลกันยา ศรีสุข. (2552). การพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความ
ยากจน: กรณีศึกษาบ้านโคกใหญ่หมู่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัย มข, 14(8),
724-734.
พลพัธน์ โคตรจรัส, อ้อทิพย์ ราษฏร์นิยม, รัชพันธุ์ เชตจิตร, ประพาฬ เฟื่องฟูสกุล, ทิพย์วิมล วงศ์รัตนชัย
และวรรณสินท์ สัตนานุวัตร์. (2555). การวิเคราะห์บัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน ตำบลองค์รัก อำเภอองค์รัก
จังหวัดนครนายก. รายงานวิจัยสำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วาริพิณ มงคลสมัย. (2552). การจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม่.
สายสมร สังข์เมฆ. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในชุมชนเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3), 26-35.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561, จาก
http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2559). ระบบสถิติทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561,
จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php
สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-
referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Yamane, Taro. (1970). Statistics – An Introductory Analysis. 2nd. ed. Tokyo: John Weather Hill, Inc.

เผยแพร่แล้ว

03-07-2020