การจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติดนตรี โดยใช้แนวคิดโครงการเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • ธิติ ปัญญาอินทร์
  • ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท์
  • วีระยุทธ สุทโธ
  • คณิต พรมนิล
  • กชพร อู่ไพบูรณ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ปฏิบัติดนตรี, การปฏิบัติดนตรี, โครงการเป็นฐาน, ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติดนตรีตามแนวคิดโครงการเป็นฐานและเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวทางการใช้แนวคิดโครงการเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติดนตรี ระยะที่ 2 พัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติดนตรี โดยใช้แนวคิดโครงการเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระยะ ที่ 3 ประเมินผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 4  ประเมินประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดโครงการเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติดนตรี ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้และศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้  รายวิชาปฏิบัติดนตรี ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ หลักการ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้และการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ให้กำหนดโจทก์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้สืบค้นแสวงหาความรู้ ให้เลือกสรรองค์ความรู้ ให้ประเมินค่าองค์ความรู้ และให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้องค์ความรู้ 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 81.13 ซึ่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยพัฒนาการจัดการเรียนรู้และศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้  รายวิชาปฏิบัติดนตรี ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาพรวมระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กรมวิชาการ. (มปป). สรุปผลการประชุมสัมมนาเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นกับหลักสูตรที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการ.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2538). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์วิสุทธิ์.

สุภารัตน์ จันทร์แม้น, และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2557). ผลการเรียนอีเลิร์นนิงแบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการท างานร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, 7(2), 1163-1176.

ศรัญญา ศิริวรศิลป์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การผลิตสินค้าและบริการและความสามารถด้านกระบวนการวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิจัยเป็นฐาน. Veridian E-Journal, 8(2), 1161-1175.

Flavell, J.H. (1963). The developmental psychology of Jean Piaget. New York: D. Van Nostrand.

The National Association for Music Education. (2001, October 5). National Standards for Music Education. Retrieved from http://www.menc.org/publication/books/standardsHtml

เผยแพร่แล้ว

03-02-2020