รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน , การจัดการทางกายภาพ , แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อวิเคราะห์บริบททางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวสู่การปรับปรุงลักษณะทางกายภาพในแหล่งท่องเที่ยวบ้านพักโฮมสเตย์ของกลุ่มโฮมสเตย์บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อจัดทำที่พักผ่อนหย่อนใจในแหล่งท่องเที่ยวบ้านพักโฮมสเตย์และเพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทางกายภาพของบ้านพักโฮมสเตย์ของกลุ่มโฮมสเตย์บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมกับนักวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวชาวไทย และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วม การจัดประชุมเสวนาทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การระดมสมอง การติดตามประเมินผล และสรุปบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยผู้วิจัยมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นประสาน ดำเนินการ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 – พฤษภาคม 2562 ได้รูปแบบที่พักผ่อนหย่อนใจชื่อ “โอลลัลซา บ้านโคกเมือง”จากการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทางกายภาพของบ้านพักโฮมสเตย์ของกลุ่มโฮมสเตย์บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผลจากการทดลองจัดทำที่พักผ่อนหย่อนใจในแหล่งท่องนำร่องในบ้านพักหลังแรก พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มาท่องเที่ยวร่วมกับกลุ่มเพื่อนได้รับทราบข้อมูลจากสื่อบุคคลและสังคมออนไลน์ ผลประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 15 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.93) ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับคือความสวยงามของบ้านพักโฮมสเตย์ที่มีที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้เข้าพักและนักท่องเที่ยวในการเป็นจุด Check in และมีการดูแลสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชน รวมทั้งชุมชนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในสังคมและส่งผลต่อการเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
References
จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.
ปิยพร ชุมจันทร์. (2546). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการผลิตเสื่อกก ของโรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษาอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิสุทธิ์ศักดิ์ หวานพร้อม. (2543). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภางค์ จันทวานิช. (2543). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรินทร์ จึงประวัต. (2559). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครนายก. กระแสวัตฒนธรรม, 19(35), 64-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ ในการตีพิมพ์บทความ
จะโชว์ตอนที่ ผู้ส่งบทความ ตีพิมพ์ ต้องกด accept