ตัวแบบของการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน กรณีศึกษาบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ละมุล กมล
  • สถาพร วิชัยรัมย์
  • สากล พรหมสถิตย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการน้ำ, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ตัวแบบในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย แบบการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการน้ำและความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำจากกรณีดังกล่าว เกิดจากปัจจัยที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่เห็นความสำคัญของปัญหาสาธารณะร่วมกัน นำไปสู่การร่วมกันคิดวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการ การร่วมรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมดังกล่าวอาศัยปัจจัยหลักคือ ผู้นำชุมชนและเครือข่ายภาครัฐที่ได้ร่วมกันผลักดัน ขับเคลื่อน ก่อให้เกิดการสร้างตัวแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และเป็นบทเรียนในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ แก่องค์กรหน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2545). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา 17 มิถุนายน 2551 ณ สถาบันพระปกเกล้า.

ทะนงศักดิ์ คุ้มไขน้ำ. (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. ปาฐกถาพิเศษ ป๋วยอึ้งภากรณ์. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ปิยะมาศ เมิดไธสง. (2561). รูปแบบการจัดการความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2541). การสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน. วารสารพัฒนาชุมชน, 36(4), 32-44.

สงวน ปัทมธรรมกุล. (2544). การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มแม่น้ำขนาดเล็ก. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สนิท ทิพย์นางรอง. (2562). เครือข่ายการบริหารจัดการน้ำระดับชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2562. เอกสารอัดสำเนา

สมบัติ นามบุรี.(2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุทิน บุญญาธิการและคณะ. (2540). การบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา: โครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ.

สุณีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชาติ พวงสำลี, และกฤตยา อาชวนิจกุล. (2542). ขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. นครปฐม: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เผยแพร่แล้ว

12-06-2020