การกำหนดจุดยืนทางการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของกลุ่มธุรกิจคาเฟ่ที่มีทำเลที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า BTS

ผู้แต่ง

  • ดร.ระชานนท์ ทวีผล
  • อารยา คำบุรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดยืนทางการตลาดและรูปแบบการสื่อสารทางการตลาดบูรณาการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจคาเฟ่ที่มีทำเลที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า BTS เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ร่วมกับการสังเกตปรากฏการณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ประกอบการและผู้จัดการร้านของธุรกิจคาเฟ่ที่มีทำเลที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า BTS จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) การกำหนดจุดยืนทางการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1.1) จุดยืนด้านอารมณ์ ที่นำเสนอเกี่ยวกับคุณลักษณะของสินค้าและบริการเพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกสะดวกสบายและได้รับการบริการที่ดี (1.2) จุดยืนด้านการใช้งาน ที่นำเสนอถึงความคุ้มค่าของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ (1.3) จุดยืนด้านความแตกต่าง ที่นำเสนอเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (2) รูปแบบการสื่อสารทางการตลาดเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนโดยอาศัยสัญลักษณ์ที่เข้าใจเป็นสื่อกลางในการสร้างความหมายประกอบด้วย 5 ลักษณะ (2.1) การโฆษณาผ่านผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์เพียงบางแห่งเท่านั้น (2.2) การประชาสัมพันธ์ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการแนะนำสินค้าและบริการ (2.3) การสื่อสารเพื่อส่งเสริมทางการตลาดที่กระตุ้นผู้รับบริการให้เกิดความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ เช่น การมอบส่วนลด การแจกของที่ระลึก เป็นต้น (2.4) การสื่อสารโดยพนักงานและการให้คำแนะเกี่ยวกับสินค้าและบริการ (2.5) การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดที่สร้างความแตกต่างตามเทศกาลต่างๆ

คำสำคัญ : จุดยืนทางการตลาด   การสื่อสารทางการตลาด  การสร้างมูลค่าเพิ่ม  สถานีรถไฟฟ้า BTS

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. Café Hopping Culture. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/cafe-hopping-culture/?fbclid=IwAR2W_5qZXpMU JtoHhZgBCM0h71oNMwfqLjxKne2CfrSut-26J7iY5M12NZk.
การดี เลียวไพโรจน์. (มปป). ต่อยอดไอเดียทำธุรกิจ กับ 5 ธุรกิจสร้างสรรค์สาขาอาหาร Creative Food Business. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สาวิกาการพิมพ์.
กุลธิดา ก้าวสัมพันธ์ และปะราสี เอนก. (2561). การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดแฟรนไชส์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 9(1) : 184-199.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดกับความจงรักภักดีต่อร้านกาแฟสดในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 16(1) : 21-37.
ฉัตรแก้ว ชิมะบุตร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจซื้อวัสดุก่อสร้างในร้านค้าปลีกและการปรับตัวของ ร้านค้าวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม. การศึกษาอิสระปริญญาตรีเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณรงค์รัฐ ร่วมพรภาณุ. (2558). อิทธิพลของการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ต่อการตัดสินใจเลือกเล่นเกมออนไลน์ ในเขต กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เกม Dota 2 และ League of Legends. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริการธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐวุติ รุ่งเสถียรภูธร. (2558). ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการ และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริการธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิยม เจริญศิริ. (2558). ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตแภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
บุณยาพร วุฒิธรรมคุณ. (2559). การรีวิวร้านอาหารผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจเลือกร้านอาหารสำหรับการรับประทานนอกบ้านของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรนิเทศศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟ้ฟ้า BTS. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มนตรี ทองโคตร, ชื่นจิตร อังวราวงศ์ และเปรมใจ สัจจะอารีวัฒน์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคไอศกรีมและ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านไอศกรีม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(3) : 233-241.
ระชานนท์ ทวีผล และกชกร เดชกำแหง. (2562). กลยุทธ์ประสาทสัมผัสที่ส่งผลต่อการสินใจใช้บริการธุรกิจคาเฟ่ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม กรณีศึกษา Dubua Café. วารสารศิลปศาสตร์ มทร. กรุงเทพ. 1(1) : 34-46.
รัชนีวรรณ วัฒนปริญญา และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการตลาดและการสื่อสาร. 1(2) : 317-333.
วรรณิสา สืบค้า. (2557). ตําแหน่งทางการตลาดของตราสินค้าไอศกรีมในการรับรู้ของผู้บริโภค ในเขตชุมชนเมืองขอนแก่น. การศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรามาศ เพ็ชรเนียม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการในร้านกาแฟพรีเมี่ยมของประชากรในเขต กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. MARKETING 101 กลยุทธ์การตลาด STP เรื่องนี้ต้องมาก่อน 4P. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://marketeer.co.th/archives/70918.
ศิระประภา นพชัยยา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟจากร้านคาเฟ่อเมซอนในสถานีบริการน้ำมันปตท.ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
สุภาภรณ์ จินดาวงษ์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้กาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กรณีศึกษา ร้านบ้านไร่กาแฟ สาขาที่ 209. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาธุรกิจวิศวกรรมภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรเดช สุเมธาภิวัฒน. (2559). การสื่อสารการตลาดในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยังยืน. วารสารวิจัยมหาวิทลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(2) : 110-117.
สินชัย เจนช่างกล. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมของการตลาดคาเฟ่ขนมหวานร้าน After You. Viridian E-Journal, Silpakorn University. 11(2) : 170-183.
หนึ่งฤทัย เซี่ยงฉิน และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการบริโภคกาแฟของร้านสตาร์บัคส์ และร้านทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์. Viridian E-Journal, Silpakorn University. 8(3) : 461-477.
เหมสุดา สันติมิตร. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) สำหรับผู้ประกอบการธุริจรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิสถาบันอาหาร. ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2562 จาก http://fic.nfi.or.th/ MarketOverviewDomesticDetail.php?id=78

เผยแพร่แล้ว

07-06-2019