การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการวิจัยในชั้นเรียนจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุชาติ หอมจันทร์
  • กระพัน ศรีงาน
  • พัชนี กุลฑานันท์
  • ราชัย บุณยรัตผลิน ฉ่ำทรัพย์
  • ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการพัฒนาและแก้ปัญหาให้กับนักเรียน ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดบ้านแสลงคง อำเภอพลับพลาชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 15 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมในการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนครูทุกคนให้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง โดยการสนับสนุนให้ เข้าอบรมศึกษาเพิ่มเติม หรือทำวิจัยในชั้นเรียน ครูบางคนที่ทำวิจัยในชั้นเรียนจะเป็นในลักษณะการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ที่ทำอยู่ไม่เป็นระบบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ครูไม่ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นเพราะ ไม่มีความรู้ในเรื่องระเบียบวิธีการวิจัย ขาดแหล่งความรู้ ขาดเอกสารทางวิชาการ ขาดเงินทุน รวมทั้งขาดผู้ให้คำปรึกษาในการวิจัย
  2. ผลการประเมินโครงร่างหลักสูตร 1) ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง ครูที่ร่วมพัฒนาหลักสูตร ได้ตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุม และความเหมาะสม แล้วเห็นว่าดีเหมาะสม 2) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ  ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ดีมาก และได้เสนอแนะให้จัดโครงสร้างเนื้อหาตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปยาก
  3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร ครูผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นมีทักษะในการปฏิบัติงานวิจัยในชั้นเรียนตั้งแต่เริ่มทำงานจนครบกระบวนการฉบับสมบูรณ์เสร็จ รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี ครูมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เห็นคุณค่าของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน

References

พศิน แตงจวง. (2538). การวิเคราะห์กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อการวางแผนการศึกษานอกระบบในชนบท. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รักเกียรติ ทองมูล. (2550). การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านแดง อําเภอ
มหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
สมพร ชัยดิษฐ์. (2548). การพัฒนาบุคลากรครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านตะครองใต้
อําเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Granz , M. and Others. (1991). Health Behavioral and Health Education : Theory
Research and Application. California : Mayfield Publishing.

เผยแพร่แล้ว

07-06-2018